ร่วมสู้วิกฤตดิสรัปชั่น คน DHAS ต้อง Reskills/Upskills
เป็นสิ่งที่ถูกพูดถึงมากในเรื่องของการพัฒนาตนเอง บนบริบทของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ชาว DHAS ปฏิเสธ ไม่ได้เลยว่า เรากำลังถูกบังคับให้ต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) การสร้างทักษะใหม่ และเสริมทักษะเดิมคือสิ่งที่สำคัญ ในโลกที่อะไรต่างล้วนเปลี่ยนไปไม่เหมือนเดิม
Re-Skill , Up-Skill คืออะไร??
Re-Skill คือการสร้างทักษะใหม่ๆ ที่ตอบรับกับโลกในปัจจุบันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความคิดสร้างสรรค์ ทักษะด้านดิจิทัล Re-Skill นี้ไม่ได้ทำแค่เฉพาะพนักงานเก่าที่มีอยู่ หรือทำครั้งเดียวแล้วจบ แต่การ Re-Skill ต้องทำเรื่อยๆ การพัฒนาและอัพเกรดทักษะมนุษย์ต้องทำอย่างต่อเนื่อง
Up-Skill คือการเสริมสร้างทักษะเดิมที่มีอยู่ ให้ยังสามารถใช้กับโลกยุคปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนมากแล้วก็คือการปรับใช้ดิจิทัลให้เข้ากับทักษะที่มีอยู่ หรือการพัฒนาทักษะเดิมให้ทันองค์ความรู้ใหม่ๆที่เกิดขึ้น
Reskill & Upskill ต้องทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อก้าวตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงให้ทัน เพราะปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยี AI และ Machine Learning เข้ามาใช้อย่างแพร่หลายในภาคธุรกิจ ทั้งในการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพสินค้า บริการ และประสบการณ์ของลูกค้า ตลอดจนเข้ามาทดแทนแรงงานมนุษย์ เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วนี้ส่งผลให้มนุษย์ต้องปรับตัวและพัฒนาทักษะให้ก้าวทันโลกการทำงานที่เปลี่ยนไปในความเป็นจริง ช่องทางในการพัฒนาทักษะต่างๆ ในปัจจุบันนั้นมีอยู่เยอะแยะมากมายให้เราสามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมกับความต้องการของเรา ทักษะใหม่ๆ เรียนรู้ได้ไม่ยาก แค่เราต้องทำการบ้านให้พร้อมก่อนลุย! เตรียมตัวให้พร้อมก่อนออกตัวด้วยการวางแผนเป็นขั้นตอนเพื่อให้การพัฒนาตัวเองเป็นเรื่องที่ง่ายกว่าเดิม
1.ประเมินสกิลที่มีอยู่ในปัจจุบัน
สเต็ปแรกในการ reskill คือการประเมินความสามารถในปัจจุบันของเราก่อน ว่าสกิลไหนยังไปต่อได้สบายๆ สกิลไหนต้องจำเป็นต้องใช้ แล้วต้องปัดฝุ่นหรือเรียนรู้เพิ่มเติม การเข้าใจระดับความสามารถของตัวเองจะช่วยบอกคุณได้เป็นอย่างดีว่า คุณพร้อมแค่ไหนสำหรับเป้าหมายที่ตั้งไว้
2.การวางแผนและผลที่ต้องการให้ชัดเจน
เมื่อตั้งใจจะรีสกิลแล้ว สิ่งสำคัญคือการวางแผนเพื่อให้ไปได้ถึงเป้า โดยเฉพาะใครที่กำลังมองหาช่องทางและโอกาสในการขยับขยาย เปลี่ยนงาน หรือเลื่อนตำแหน่ง ยิ่งวางแผนมาดีขาดสกิลอะไร ต้องเสริมอะไร หัวข้อไหนจำเป็นมากน้อยกว่ากัน รายละเอียดจะยิ่งทำให้ภาพสำเร็จชัดยิ่งขึ้น
3.ค้นคว้าและเลือกวิธีเรียนรู้สิ่งที่ขาด
วิธีอัพสกิลหรือช่องทางการเรียนรู้ในปัจจุบันมีมากมาย ถ้าทำการค้นคว้าให้ดีๆ เราจะพบว่าการลงทุนเพื่อการเรียนรู้ ไม่ได้จำเป็นต้องใช้เวลาหรือเงินจำนวนมากอย่างที่หลายคนกลัว ถ้าข้อมูลแน่นและรู้จักเปรียบเทียบให้เป็นว่าการเรียนแบบไหนที่ตอบโจทย์ บางสิ่งอาจจะสามารถเรียนรู้ได้จากอ่านหนังสือหรือศึกษาออนไลน์ด้วยตัวเอง ในขณะที่หัวข้อที่ซับซ้อนกว่า ควรต้องมีผู้เชี่ยวชาญที่ให้คำแนะนำได้เมื่อคุณเกิดคำถามหรือไม่แน่ใจ
4.ฝึก… ฝึก… และฝึกใช้ความรู้ใหม่ที่ได้มา
เพราะการเรียนรู้ ไม่ได้หยุดอยู่แค่ช่วงที่เรียน ไม่ว่าจะเป็นหัวข้ออะไร ถ้าเป็นความรู้ใหม่ๆ การที่จะเข้าใจได้อย่างทะลุปรุโปร่งจนนำไปใช้ประโยชน์ได้ ต้องผ่านการฝึกฝนและใช้บ่อยๆ เพื่อให้คุ้นจนชำนาญ เพราะถ้าไม่ใช้ โอกาสในการเข้าใจสถานการณ์จริงจะลดลงและทำให้ไม่มีประสบการณ์ในสิ่งที่เรียน
5.มองการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เป็นผลประโยชน์เสมอ
กระบวนการรีสกิลเป็นสิ่งที่ใช้เวลา และครอบคลุมการเรียนรู้หลายหัวข้อ ซึ่งอาจจะไม่ได้ตรงกับสิ่งที่เราอยากนำไปใช้ 100% เสมอไป แต่สุดท้ายการได้รู้สิ่งที่ไม่เคยรู้มาก่อนก็ถือเป็นเรื่องดีๆ ทั้งนั้น และอยู่ที่มุมมองของเราด้วย ว่าจะสามารถหา key takeaway ที่นำไปปรับใช้ในชีวิตจริงได้ดีแค่ไหน
ในรายงานเรื่อง Future of Jobs ของ World Economic Forum (WEF) บอกว่าในศตวรรษที่ 21 นี้ เราต้องออกแบบวิธีการเรียนรู้กันใหม่ ถ้าจะให้ดี ทักษะความรู้ต้องเข้าถึงได้ ‘สะดวก ทุกที่ และทุกเวลา’ และวิธีการเรียนการสอน ต้องเน้นไปที่การปลูกฝังและติดตั้ง ‘ระบบความคิด’ ให้คนเรียน โดย World Economic Forum ได้แนะนำหลักการ ‘MPPG’ ที่ใช้เทคโนโลยีแก้ปัญหา Skill Gap ที่เกิดจากเทคโนโลยีไว้ว่า การเรียนรู้ในยุคนี้ต้องมีองค์ประกอบคือ
Mobile-first : ช่องทางเข้าถึงง่าย และออกแบบเล่าได้น่าสนใจ (ใช้ UX และ UI เข้ามาช่วย)
Participatory : สร้างประสบการณ์ร่วมในการเรียนรู้ จะช่วยให้เกิดความ ‘อยากแชร์’ ต่อ
Personalized : เมื่อได้รับโจทย์เฉพาะ แต่ละคนจะได้พัฒนาทักษะในการคิดแบบวิเคราะห์ (Critical Thinking) และทักษะในการตัดสินใจ (Judgement skills)
Group-based : สร้างส่วนของการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อเพิ่มมุมมองใหม่และกระตุ้นการแบ่งปันไอเดีย
ปัจจุบันมีหลากหลายแพลตฟอร์มการเรียนรู้ แต่อาจจะยังไม่ใช่ทุกที่ที่สามารถรวบรวมทุกองค์ประกอบด้านบนได้ แต่ก็ไม่ใช่ว่าไม่มี สิ่งสำคัญคือคุณต้องเปิดใจพร้อมรับกับการเรียนรู้ ค่อยๆ หาข้อมูล แล้วคุณจะรู้ว่าเรื่อง Reskill ไม่ได้ยากไปกว่าความสามารถแน่นอน
และสุดท้ายตัวพนักงานเอง จะต้องทำตัวเป็นน้ำครึ่งแก้ว พร้อมที่จะเปิดรับสิ่งใหม่ๆ และมองนวัตกรรมเทคโนโลยีเป็นเรื่องท้าทาย และไม่ใช่สิ่งที่จะต้องกลัว หมั่นศึกษา หาความรู้ ต้องพาตัวเอง ไปเสริมทักษะ ทั้งคอร์สสัมมนา อบรบ และทำ workshop เพื่อเสริมเติมทักษะด้านที่ขาดต่างๆ ให้มีเพิ่มมากขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนัน องกรณ์จะต้องส่งเสริมให้พนักงาน กระตือรือร้นที่จะเรียนรู้อยู่เสมอด้วย ถึงแม้แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะแตกต่างกันออกไป แต่เป้าหมายหลักสำคัญคือการผลักดันให้บุคลากรในองค์กรทุกระดับสามารถ Reskill ตัวเองได้