หลักสูตร ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Kaizen
Background
COURSE HIGHLIGHT
Speaker
More Detail
ไคเซ็น (Kaizen) เป็นภาษาญี่ปุ่นแปลว่าการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเป็นกิจกรรมการบริหาร งานเชิงคุณภาพอันมีรากฐานกำเนิดมาจากประเทศญี่ปุ่น และได้รับความนิยมแพร่หลายกลายเป็นที่รู้จัก และสื่อสารกันในระดับสากลการทำไคเซ็น เป็นการสนับสนุนให้เกิดแนวความคิดที่ว่าการทำไคเซ็นไม่ใช่เพิ่มภาระแต่มุ่งที่จะเลิก / ลด / เปลี่ยนภาระหรืองานที่ไม่จำเป็นมุ่งไปสู่วิธีอื่นที่เหมาะสมกว่าดังนั้น การทำไคเซ็นจึงถือเป็นส่วนหนึ่งในหน้าที่ ของพนักงานทุกคนที่จะได้มีส่วนร่วมในการปรับปรุงงาน ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโดยองค์กรควรปลูกจิตสำนึก ให้กับพนักงานในการพัฒนาปรับปรุง การทำงานอย่างต่อเนื่องโดยให้ความรู้และความเข้าใจและสร้างจิตสำนึกให้พนักงานทุกคน ทุกระดับเรียนรู้วิธีการตลอดจนเทคนิคการทำไคเซ็นในงานของตนซึ่งตั้งอยู่บนสมมติฐาน “ผู้ปฏิบัติงานหน้างานย่อมรู้งานของตนเองมากกว่าคนอื่นๆ“ โดยในท้ายที่สุดแล้วผู้ปฏิบัติงานย่อมมีความสะดวกสบายในการทำงานมากยิ่งขึ้น จากการปรับปรุงงานของตนเองตลอดเวลานั่นเอง คุณลักษณะของไคเซ็นจะเน้นการปรับปรุงทีละเล็กละน้อยและเป็นไปอย่างต่อเนื่องโดยการ ปรับปรุงสามารถทาเป็นรายบุคคลหรือเป็นทีมก็ได้การทำไคเซ็นให้ประสบความสำเร็จ ต้องมีทัศนคติที่ดีได้แก่ต้องละทิ้งความคิดเก่าที่ว่าไม่สามารถทำได ้และคิดใหม่ว่าทุกอย่างสามารถทาได้ (Can do) , อย่ายอมรับคำแก้ตัว , ไม่ต้องแสวงหาความสมบูรณ์แบบของการปรับปรุงงานก่อนลงมือทำ ,ไม่จำเป็นต้องใช้เงินหรือทรัพยากรมากมายเพื่อทำการปรับปรุง, การปรับปรุงให้ดีขึ้นนั้นไม่มีจุดสิ้นสุดหรือไม่มีจุดจบเป็นต้น
โดยหลักสูตรนี้จะช่วยให้เข้าใจการแนวคิดการปรับปรุงงานแบบไคเซ็น เรียนรู้วิธีการค้นหาจุดที่ควรปรับปรุงขั้นตอน การดำเนินงานไคเซ็นแนวทาง / เทคนิคการปรับปรุงงานด้วยเครื่องมือต่างๆเช่น PDCA , QC7 Tools , 5Sฯลฯโดยมีตัวอย่างกรณีศึกษาการทาไคเซ็น ในระดับองค์กรชั้นนำเพื่อนำไปเป็นแนวทางประยุกต์ใช้ในงานของตนเองต่อไปดังนั้น หากองค์กรได้มีการส่งเสริมสนับสนุนแนวคิดการดำเนินงานไคเซ็นอย่างจริงจัง และสามารถผลักดันให้เกิดการมีส่วนร่วมในการพัฒนาขีดความสามารถ ของพนักงานผ่านการเรียนรู้ซึ่งกันและกันอย่างต่อเนื่อง
1. ไคเซ็นคืออะไร
วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจถึงความสำคัญและความหมายของวิธีการ ปรับปรุงงานแบบไคเซ็น
2. หลักการและข้อเสนอแนะเบื้องต้นของไคเซ็นในการปรับปรุงงาน
วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงหลักการเบื้องต้นในการนำไคเซ็น มาใช้ในองค์กรรวมถึงข้อเสนอแนะวิธีการปรับปรุงงาน
3. ขั้นตอนและเครื่องมือในการปรับปรุงงาน
วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าถึงขั้นตอนในการปรับปรุงงานและเครื่อง มือที่ก่อให้เกิดการปรับปรุงงานแบบไคเซ็น
4. เทคนิคในการมองปัญหา
วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รู้ถึงสาเหตุของปัญหาในการจัดทำ การปรับปรุงงานและสามารถวิเคราะห์ปัญหา พร้อมหา แนวทางในการแก้ไขที่เกิดขึ้นได้ตรงจุด
5. เทคนิคแก้ไขปัญหาและวิธีการปรับปรุงงานโดยความคิดสร้างสรรค์
วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมรู้ถึงเทคนิคและวิธีการในการแก้ไขปัญหา โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างเหมาะสม
6. กรณีศึกษา
วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ถึงการวิเคราะห์ถึงปัญหาและ แนวทางแก้ไขปัญหาจากตัวอย่างสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง
ฝ่ายบริหารพัฒนาทรัพยากรมนุษย์