Coaching Culture โจทย์ที่ท้าทายที่สุด ของคน DHAS

บ่อยครั้งที่ HRD Vshared พูดถึงVUCA World ซึ่งเป็นคำย่อของ ความผันผวน (Volatility) ความไม่แน่นอน (Uncertainty) ความสลับซับซ้อน (Complexity) ความคลุมเครือ (Ambiguity) จากสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี พฤติกรรมผู้บริโภค การแทนที่ของรูปแบบธุรกิจ Disruption สงครามอันน่าหดหู่ของ อัฟกานิสถาน และมาถึงสถานการณ์ของไวรัสขณะนี้ ทำให้เกิดผลกระทบต่อกันมาเรื่อยๆ อย่างมีนัยสำคัญ จนเราก็ไม่รู้ว่ามันจะจบลงเมื่อไหร่ และก็ไม่สามารถคาดการณ์เหตุการณ์ที่จะเกิดในอนาคตได้

วิกฤตที่เรากำลังเผชิญนี้แม้ไม่อาจคาดการณ์ได้ แต่สิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่เราสามารถช่วยองค์กรได้ คือการสร้างขุมพลังของตัวเราเอง ทีมงาน และเพื่อนร่วมงานให้เข้มแข็ง เพิ่มขีดความสามารถในการทำงานให้ทุกคน ทุกหน่วยงาน ทุกตำแหน่ง พร้อมรับมือได้ในทุกสถานการณ์อย่างมืออาชีพ และวิธีที่เราจะแชร์ในวันนี้คือ การโค้ช (Coaching) การโค้ชเป็นเครื่องมือที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งในการพัฒนาบุคคลากร ที่ถือว่ามีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนและเติบโตขององค์กร ลองนึกภาพตามนะครับ ถ้าทุกคน ทุกทีม ทุกหน่วยงาน มีวัฒนธรรม การโค้ช เราจะได้ภาพใหญ่ที่เรียกว่า “องค์กรแห่งการเรียนรู้” นั่นก็ไม่แตกต่างต่าง การมีกองทัพ ดับเบิ้บดอร์ ของแฮร์รี่ พอตเตอร์ ที่เอาไว้ต่อสู้ พ่อมดวายร้าย อย่าง โวลเดอร์มอร์

“องค์กรแห่งการเรียนรู้” เป็นองค์กรที่มีการสร้างช่องทางให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ซึ่งกันและกันภายในระหว่างบุคลากร ควบคู่ไปกับการรับความรู้จากภายนอก เป้าประสงค์สำคัญ คือเอื้อให้เกิดโอกาสในการหาแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practices) เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและสร้างเป็นฐานความรู้ที่เข้มแข็ง(Core competence) ขององค์กร เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกที่เกิดขึ้นอยู่ ตลอดเวลา และจุดเริ่มต้นในการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ คือการ OJT เหมือนที่เรากล่าวไว้ในบทความที่แล้ว และการโค้ช โดยก่อนที่จะทำการโค้ชชิ่ง ผู้สอนจะต้องรู้จักหลักเกณฑ์ในการสอนงานที่เรียกว่า 4D กันก่อน

Diagnose คือ การวิเคราะห์ วินิจฉัย ประเมินความจำเป็นและความต้องการในการเรียนรู้ของพนักงาน ผู้สอนต้องทราบให้ได้ว่า พนักงานคนนี้ขาดในเรื่องใด จำเป็นเรื่องใด ก็ต้องสอนเรื่องนั้น และพนักงานแต่ละคนก็ต้องสอนด้วยสไตล์ที่แตกต่างกันไป ตามแต่ลักษณะของพนักงานแต่ละคนด้วย

Design คือ การออบแบบการสอนงาน ว่าจะต้องสอนอย่างไร ใช้ระยะเวลานานเท่าไรในการสอนพนักงานคนนี้ และจะจัดสรรเวลาในการสอนอย่างไร บ่อยเพียงใด แต่ละครั้งต้องใช้เวลาเท่าไร และจะวัดผลการสอนงานได้อย่างไร

Discuss คือ การพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ในการสอนงาน ไม่ใช่เพียงสอนเนื้อหา วิธีการทำงาน และให้นำแนะนำติชมเท่านั้น แต่ในขณะที่สอน ผู้สอนและพนักงานจะต้องพูดคุยกันถึงเรื่องอื่น ๆ ในที่ทำงานด้วย เพื่อแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับความเชื่อ ค่านิยม วัฒนธรรมองค์กร สไตล์การทำงาน การสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานในองค์กร เป็นต้น

Destiny คือ เป้าหมายที่คาดหวังไว้ กำหนดจุดมุ่งหมายของการสอนงาน และดำเนินการตามขั้นตอนที่ได้ออกแบบไว้ หากทุกอย่างเป็นไปตามแผนงานก็ควรบรรลุวัตถุประสงค์

ลักษณะของโค้ช สอนงานที่ดี

  1. ผู้สอนจะต้องเป็นต้นแบบที่ดี ทำให้พนักงานเกิดความวางไว้วางใจ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการทำงานร่วมกัน
  2. ผู้สอนต้องให้ความใกล้ชิดสนิทสนม ไม่ใช่แบบเจ้านายกับลูกน้อง แต่เป็นแบบพี่แบบน้อง ที่เดินไปพร้อม ๆ กัน คอยช่วยเหลือกัน
  3. ผู้สอนต้องดึงความรู้ ความสามารถ ที่พนักงานมีอยู่ในตัวออกมาให้ได้ เพื่อเปิดโอกาสให้พนักงานได้ใช้ความรู้ ความสามารถ และทักษะอย่างเต็มประสิทธิภาพ
  4. ผู้สอนต้องสอนให้พนักงานมองไปในระยะยาว มองไปถึงอนาคตข้างหน้า อย่ามองแค่ใกล้ ๆ หรือเพียงแต่ละวัน ๆ เท่านั้น
  5. ผู้สอนต้องทำหน้าที่เป็นผู้ให้อย่างเต็มใจ นำความรู้ที่มีทั้งหมดมาถ่ายทอด เพื่อให้มีผู้สืบทอดความรู้ต่าง ๆ และองค์ความรู้ไม่ติดกับตัวบุคคลเมื่อมีการเข้า-ออกจากตำแหน่ง
  6. การสอนงานที่ดีต้องมีทั้งการวางแผนที่ดีและการสร้างความไว้วางใจให้แก่พนักงาน เพื่อให้พนักงานเปิดรับและพร้อมเรียนรู้ ซึ่งจะทำให้การสอนงานบรรลุจุดมุ่งหมายที่วางเอาไว้ได้สำเร็จ

HRD ขอเชิญ เพื่อนพนักงาน DHAS มาปลุกความเป็นโค้ชในตัวคุณ กับโครงการ “Awaken your inner Coach” โครงการที่เปิดกว้างให้กับพนักงาน ทุกตำแหน่ง ทุกระดับ ได้แลกเปลี่ยนไอเดีย ทักษะ ความรู้ ประสบการณ์ เคล็ดลับความสำเร็จShow Case หรืออยากถ่ายทอด Best Practices สมัครเข้าร่วมโครงการ และดำเนินการสอน/ฝึกอบรม คนในองค์กร หรือคนในทีมในรูปแบบ Classroom ขนาดเล็ก Online Webinar หรือ On the Job Training ทุกหลักสูตร ทุกคลาส ทุกประสบการณ์ของการแบ่งปัน รับไปเลย เหรียญ Happily สูงสุด 3000 เหรียญ  และที่สำคัญทุกคนจะได้รับ ประกาศนียบัตรรับรองการเป็นวิทยากรและผู้เชี่ยวชาญในองค์กร ต่อยอดด้วยทุนฝึกอบรมที่จะช่วยลับคมของคุณให้เก่งขึ้น และนี่คือ Coaching Culture โจทย์ที่ท้าทายที่สุด ของคน DHAS  

สนใจสมัคร ส่ง Topic เพื่อการแบ่งปัน ได้ที่ HRD คุณนิลาวรรณ 6615 || คุณสุดารรัตน์ 7613