Coaching คืออะไร? การ Coach แบบที่ทำให้ชีวิตคนทำงานใน DHAS แบบ Super Productive เป็นอย่างไร? วันนี้ HRD Vshared จะมาเล่าถึง วิธีการที่จะทำให้ คนเป็นเจ้านาย ได้ลูกน้องที่มีประสิทธิภาพ พร้อมทำงานเต็มที่
Coaching เป็นประเด็นที่เราเห็นเยอะในหน้า Feed ตาม โซเชียลมีเดีย ต่างๆ ซึ่งก็มีการนิยาม หรือถูกพูดถึงในมิติที่หลาย แท้ที่จริงแล้ว การโค้ชมันคืออะไรกันแน่ ผมอยากจะยกตัวอย่างแบบนี้ครับ มันง่ายสุดเลย ทุกท่านน่าจะรู้จักผู้จัดการทีมฟุตบอลนะครับ ผู้จัดการโค้ช ผู้เล่นยังไง การโค้ชลูกน้อง เราก็ทำลักษณะคล้ายแบบนั้นเลย วิธีคิดแบบนั้นเลย เพียงแต่ว่าเมื่อมันอยู่ในรูปแบบการโค้ชชิ่ง ให้กับคนในทีมของเรา ที่เป็นคนทำงาน มันจะถูกแปลสารออกมาเป็นอย่างไร อันดับแรกต้องบอกก่อนเลยว่า เวลาทำโคชชิ่งที่ดีเนี่ย หลายคนบอกว่า เราจ้างคนนอกมาดีไหม? การจ้างคนข้างนอกมาก็เป็นวิธีที่ดีวิธีหนึ่ง แต่เราไม่สามารถจ้างคนข้างนอกเข้ามาตลอดเวลาได้
เราสามารถจ้างคนข้างนอกเข้ามา วิทยากรภายนอกเข้ามา เล่าวิธีการโค้ชที่ถูกต้องได้ แต่งานโค้ชชิ่งเป็นงานที่ต้องทำตลอดเวลา กับทีมงานของคุณตลอดเวลา เพราะฉะนั้นจะหวังพึ่งคนอื่นตลอดไม่ได้อยู่แล้ว พูดง่ายๆ ก็คือ การโค้ชชิ่งเป็นหนึ่งในงานของคนที่เป็นหัวหน้า เราจำเป็นจะต้องเข้าใจตรงนี้ให้ตรงกันก่อน และก็ถือเป็นงานที่สำคัญด้วย ดังนั้นเรามาดูกันหน่อยว่า การโค้ชชิ่งมีจุดประสงค์ใด และทำไมถึงต้อง โค้ชชิ่ง การโค้ชชิ่งมีพื้นฐานมาจากการอยากให้ลูกน้องของตนเองเก่งขึ้น ฟังดูไม่มีอะไร ดูเหมือนปกติ แต่แท้ที่จริงแล้วมันมีความซับซ้อนกว่านั้น HRD Vshared เราจะพาทุกท่านไปพูดถึงเรื่องหนึ่งครับ คือ The hierarchy of competence เป็นพีระมิดของการเข้าใจ หรือ ถ้าจะแปลให้สวยหน่อยก็ พีระมิดของการกระจ่างรู้ 5+++
พีระมิดนี้ประกอบไปด้วย 4 อันครับ ซึ่งฐานของพีระมิด เราเรียกว่า Unconscious Incompetence ไม่รู้ว่าทำไมถึงทำงานไม่ได้ อันต่อมาเรียกว่า Conscious Incompetence รู้ว่า(ตนเอง)ไม่รู้ คือรู้ตัวว่าตนเองทำงานไม่ได้ อันต่อมาคือ Conscious competence รู้ว่าทำงานได้ รู้ว่าทำอย่างไร อันสุดท้ายที่อยู่บนสุด เรียกว่า Unconscious competence อันนี้คือแบบ เฮ้ยทำงานแบบสุดยอดเลยแต่ แต่ไม่สามารถอธิบายเป็นคำพูดได้
ทีนี้มาดูว่าการ Coaching มันเกี่ยวอะไรกับเรื่องนี้ ผมขอยกตัวอย่าง เคสหนึ่งแล้วกันครับ สมมติว่า คุณเป็นบุคคลที่ยุ่งมาก งานเยอะแยะเต็มไปหมดเลย เพราะฉะนั้นคุณก็ต้องแจกจ่ายงานไปให้ลูกน้อง หรือคนในทีมทำ อยู่มาวันหนึ่ง คุณก็บอกกับลูกน้อง ว่า “เฮ้ยไปแก้ พรีเซ็นเทชั่น ให้พี่หน่อย พี่จะไปส่งลูกค้า” พอแก้กลับมาเสร็จก็ไม่ถูกใจคุณ และคุณก็เอาปากกาสีแดงวง (ปากกา Quantum นะครับ ขายของๆ)
แล้วอีกสัปดาห์นึง คุณก็ต้องไป Presentation ใหม่ คุณก็บอกให้ลูกน้องคนเดิมนี้ละครับทำ ปรากฎว่า พอทำมาเสร็จคุณก็แก้ให้ เอาปากกาสีแดงวงเหมือนเดิม “เฮ้ย ทำไมข้อผิดมันไม่ได้ลดลงเลย” หรือมากที่สุดคุณรู้สึกว่าเค้าไม่ได้เรียนรู้อะไรเลย เป็นแบบนี้อยู่เรื่อยๆ ตัวคุณเองก็หงุดหงิด เพราะคุณต้องมานั่งแก้งานตลอดเลย ท้ายที่สุดคุณก็เอางานไปทำเองตลอด ลูกน้องคุณเองก็หงุดหงิดนะครับ เพราะจะคิดว่าว่าทำไมเจ้านายถึงไม่ถูกใจงานเค้าสักที ไม่เอางานที่เค้าทำไปใช้เลย ซึ่งในส่วนนี้ การโค้ชชิ่งจะสามารถช่วยเข้ามาแก้ไขปัญหาได้
พื้นฐาน 3 อย่างของหัวหน้างานที่ต้องมีก่อนที่ทำการโค้ชลูกน้อง จะประกอบไปด้วย
- การวิเคราะห์ขั้นพื้นฐาน ว่าเรื่องสำคัญที่คุณต้องการจะโค้ชชิ่งลูกน้องนั้น คือเรื่องอะไร ที่ความสำคัญอย่างไร ครับ
- กระบวนการ Feedback คุณได้รับผลตอบรับจากงานอย่างไรบ้าง และนำมาเป็นประสบการณ์เพื่อทำการโค้ชชิ่งให้กับลูกน้องของคุณครับ
- คุณต้องเชื่อในการเปลี่ยนแปลงก่อนครับ ซึ่งในการโค้ชชิ่งจะต้องอาศัยระยะเวลาทีละเล็กทีละน้อยในการเปลี่ยนแปลง ไม่สามารถหวังให้แบบพรุ่งนี้มาเป็นคนใหม่เลย ต้องค่อยๆสอนงานไปเรื่อยๆครับ แล้วลูกน้องของคุณจะซิมซับความรู้ และสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างยังยืนครับ
วิธีการโค้ชชิ่ง จะแบ่ง5 ระดับด้วยกัน ครับ คือ
- ทำให้ดู คุณนั่งลงทำเลยแล้วให้ลูกน้องนั่งข้างๆดูคุณทำ เป็นวิธีการ สอนงานลูกน้องที่หัวหน้างานสามารถอธิบายงานอย่างละเอียด ลง Detail ลึกในแต่ละขั้นตอนการทำงาน มานั่งทำพร้อมกัน ทำให้ดูก่อนแล้วอธิบายว่า แต่ละขั้นตอนทำไมถึงทำแบบนี้ ซึ่งจะสามารถให้ลูกน้องสามารถเข้าใจการทำงานและสามารถนำไปปฏิบัติงานต่อได้ ในทันที
- บอก เป็นวิธีการ สอนงานสำหรับลูกน้อง กลุ่ม Conscious Incompetence ที่รู้ตัวว่าตนเองทำงานไม่ได้ แต่ก็ไม่รู้จะต้องทำยังไงให้ดีขึ้นมาได้ โดยจะต้องใช้วิธีการสอนแบบอธิบาย เชิงตั้งคำถามให้ลูกน้องของคุณแสดงความคิดเห็น ให้เค้าได้คิดถึงเหตุและผลในการทำงาน โดยการมอบหมายงานให้ลูกน้องของคุณทำมาก่อน พอเสร็จแล้วคุณจึงช่วยชี้แนะแบบตั้งคำถาม เช่น ในกรณีนี้คุณเห็นด้วยมั้ย , หน้านี้มีตัวอักษรเยอะเกินไปมั้ย เป็นต้น
- ไกด์ เป็นวิธีการ สอนงานสำหรับลูกน้องที่สามารถทำงานได้จนเกือบจะสำเร็จแล้ว แต่ต้องการความคิดเห็นหรือคำตัดสิดจากหัวหน้าอีกครั้ง ต้องค่อยๆอธิบายอย่างชัดเจนว่า สิ่งที่เค้าติดนั้น ติดตรงไหน สมมุติคุณให้เค้าทำให้ดูตั้งแต่ขั้นตอนแรกเลย เค้าอาจจะไม่ได้ติดขัดทุกขั้นตอน แต่คุณจะเห็น Pattern แล้วว่า เรื่องนี้ พอเจอขั้นตอนนี้ ลูกน้องของคุณคนนี้เค้าไม่สามารถไปต่อได้ โดยที่คุณจะสามารถเอาเวลาไป Focus ลง รายละเอียดในเรื่องนั้น ไม่ต้องสอนทั้ง Process เพราะจะทำให้เค้ามึนงงมากขึ้นกว่าเดิม
- คู่มือ สำหรับคนที่เป็น Conscious competence รู้ว่าทำงานได้ รู้ว่าทำอย่างไร คือเค้าจะสามารถทำงานได้ดี แต่จะทำให้ได้ผลดีคือ เค้าต้องมีคู่มือ แต่ถ้าไม่มีคู่มือก็ไม่สามารถทำได้ หากคุณต้องการให้คนในกลุ่มนี้พัฒนาขึ้น ต้องใช้วิธีการตั้งคำถามเช่นเดียวกัน เช่น คุณลองคิดดูสิ ว่าทำไมต้องใช้สีนี้ ประเภทนี้ ทำไมต้องใช้ แฟ้มตราช้าง (ขายของเก่งงงงงง) เป็นต้น ซึ่งจะทำให้เค้าได้เกิดการพัฒนาทางความคิด หาข้อแตกต่าง ขึ้นมาได้ เป็นต้นครับ
- สนับสนุน เป็นวิธีการที่ใช้กับลูกน้องที่เก่ง และมีความสามารถ หรือก็คืออยู่ในกลุ่ม Unconscious competence ยอดสูงสุดของพีระมิดข้างต้นเลย สามารถทำงานได้ด้วยตนเอง บางเรื่องสามารถทำได้ดีกว่าหัวหน้างานซะอีกนะครับ ซึ่งมักจะพบว่า คนที่อยู่กลุ่มนี้ หัวหน้าจะปล่อยงานให้ทำ โดยที่ไม่สนใจสอนงานเลย ซึ่งเป็นความคิดที่ผิดนะครับ “ต่อให้เป็นคนเก่ง คนมีความสามารถอย่างไร ก็ต้องการการสนับสนุนจากหัวหน้างาน ในการสอนเทคนิค คำแนะนำ หรือช่วย Support เค้าในเรื่องต่างๆ”ครับ จะทำให้ลูกน้องกลุ่มนี้สามารถที่จะพัฒนาตนเองให้เก่งยิ่งขึ้นไปอีก
เวลาที่ควรโค้ชชิ่ง จะแบ่งออกเป็น 2 ช่วง เท่านั้น คือ
- Coach ตาม Calendar (ตามปฏิทิน) วัน-เวลาที่กำหนด
- Coach ตามโอกาส และสถานการณ์
สมมุติว่าลูกน้องคุณจัดการเวลาไม่ได้เลย ทำงานหนัก และ อยู่ทำงานจนดึกดื่น เวลาคุณเห็นเค้าทำงานจนดึกดื่นนั้น อาจใช้เวลาสักนิด เข้าไปคุยแบบยกตัวอย่างประสบการณ์ที่ทำงานมาให้เค้าฟังครับ เช่น “เมื่อก่อนพี่ก็จัดการเวลาไม่ได้เหมือนน้องนี้ละ แต่พี่มีวิธี 1 2 3 4 …. ในการแก้ไขปัญหา”
ประเด็นที่สำคัญมากๆเลยคือคุณไม่สามารถโค้ชในสิ่งที่คุณไม่รู้ ,ไม่ยอมทำ หรือทำไม่ได้ ในเรื่องนั้นๆนะครับ เช่น สมมุติคุณเป็นคนบอกให้เค้าบริหารจัดการเวลา แต่คุณยังไม่สามารถบริหารจัดการเวลาของตัวเองได้ แบบนี้ คุณก็ไม่สามารถไปทำการโค้ชคนอื่นได้ เพราะฉะนั้น ก่อนจะ Coach ใคร ต้องมั่นใจก่อน ว่าคุณเข้าใจในเรื่องที่ว่านั้นจริงๆก่อนครับ
อีกประเด็นที่สำคัญของการโค้ช และหลายๆท่านมักเข้าใจผิดกันก็คือ “หลายคนเค้าไม่ได้เชื่อคำพูดคุณ เพราะคุณเป็นเจ้านาย เค้าเชื่อสิ่งที่คุณพูดและเชื่อในสิ่งที่คุณทำ เพราะเค้าเห็นว่าคุณสามารถทำในสิ่งนั้นได้จริงๆ”
ปัญหาที่มักจะพบบ่อยของผู้ที่ต้องทำการโค้ชชิ่งผู้อื่น ก็จะมีประมาณ 3 เรื่อง ดังนี้ครับ
- คนที่จะโค้ชคนอื่น มักจะมองในด้านที่ลบไว้ก่อน เช่น คนนี้ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงได้ หรือ สอนงานไปก็ไม่เรียนรู้หรอก เข้าใจ ยาก เพราะฉะนั้น ก่อนจะทำการโค้ชคนอื่นได้นั้น ตัวผู้โค้ชเอง ต้องมีทัศนคติที่ดีก่อน และเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นไปได้จริงๆ ทุกคนสามารถเปลี่ยนแปลงได้เพียงแค่มีสถานการณ์และเครื่องมือที่ถูกต้อง โดยอาศัยระยะเวลาในการเรียนรู้
- พยายามมองหามุมอื่นของ คนๆหนึ่งให้ได้ หลายๆคนมักจะมองเพียงด้านเดียว เช่น คนนี้ชอบโทษคนอื่น ซึ่งหากคุณเปลี่ยนความคิดเป็นด้านบวกก่อน เช่น เค้าก็เป็นคนทำงานเก่งคนนึง ในด้านใดบ้างที่เค้าสามารถทำได้ดี การที่เค้าชอบโทษคนอื่นอาจจะมาจากประสบการณ์ที่ผ่านมาของคนๆนั้น ทำให้เกิด Self Protection ขึ้นมา เพื่อปกป้องตัวเองก็ได้เช่นกัน
- เวลาโค้ช ต้องทำการควบคุมอารมณ์ให้ได้ ในขณะที่กำลังสอนงานหรือโค้ชชิ่งอยู่นั้น ต้องพยายามควบคุมอารมณ์ของตนเองให้ได้ เมื่อไรที่คุณ ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้ ก็จะไม่ใช่การโค้ชชิ่งอีกต่อไป จะกลายเป็น Section ที่ไม่มีประโยชน์ และส่งผลเสียทั้งด้านของการเรียนรู้และทัศนคติที่ดีในการทำงานตามมา ดังนั้น การควบคุมอารมณ์จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ที่ผู้เป็นหัวหน้าต้องมีอยู่ตลอดเวลาการโค้ชชิ่ง โดยที่หากอารมณ์ดี มีผลต่อประเภทของการโค้ชด้วยนะครับ เช่น ขณะที่คุณ อารมณ์ Positive ก็จะเหมาะแก่การโค้ชในการหา Solution , Creative Solution หรือแนวคิดการทำงานใหม่ๆ เป็นต้น
ตัวอย่างในสถานการณ์ต่างๆที่มีความยาก จะเลือกวิธีการโค้ชอย่างไรดี
– คนที่ไม่เคยยอมรับเรื่องอะไรเลย การโค้ชคนกลุ่มนี้ ต้องไม่พยายามบังคับให้เค้ายอมรับ แต่ให้มองหาสิ่งสำคัญที่คุณต้องการของเรื่องนี้ให้ได้ก่อน และทำอย่างไรให้มีข้อตกลงกับคนๆนี้ได้ ว่าในอนาคตเราจะเดินไปในทิศทางใดด้วยกันได้
– คนที่ไม่มีความมั่นใจ วิธีการโค้ชคนประเภทนี้ อย่าชื่นชมเยอะครับ เพราะเค้าจะคิดว่า หัวหน้าชมเกิดมาจากความสงสาร แต่ให้เป็นการชมเชยแบบเฉพาะเจาะจงด้านผลงานที่เค้าทำ เช่น ลูกค้าฝากชมมา ว่าการบริการหลังการขายปากกา Cross ของคุณ ส่งผลให้ ยอดขายของร้านค้าของลูกค้า เพิ่มขึ้น 20% ทำให้เค้ามี Engagement เพิ่มอีก 15% เป็นต้น จะช่วยสร้าง Self Extreme ให้กับคนที่คุณกำลังโค้ชได้
– คนที่ไม่ค่อยเชื่อใจคนอื่น การที่คนไม่เชื่อใจผู้อื่นนั้น อาจมาจากหลายปัยจัยในชีวิตของแต่ละบุคคล ดังนั้นคุณไม่จำเป็นต้องทำให้เค้าเชื่อใจครับ เพียงแต่ต้องหาทิศทางหรือแนวทางในการปฏิบัติ ที่ทั้งคุณ และเค้าสามารถยึดเป็นหลักในการทำงานให้กับเค้าได้ “คุณจะไม่เชื่อใจคนอื่นก็ได้ แต่คุณต้องเชื่อใจ Process ที่เราทำมันขึ้นมา ด้วยกัน”
จริงๆการโค้ชชิ่ง เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดข้อนึง ของทักษะการเป็นหัวหน้างานที่ดี แต่เรามักจะโยนเรื่องนี้ไปให้ HRD
โค้ชชิ่ง ไม่ใช่หน้าที่ของ HRD นะครับ แต่ HRD อาจมีหน้าที่ที่จะมาสอนให้คุณสามารถ โค้ชผู้อื่นเป็น แต่สิ่งที่จะทำให้การ โค้ชชิ่ง ได้ผล คุณต้องทำอย่างเนื่องและต้องทำอย่างเข้าใจ
ส่วนผู้ที่ได้รับการ โค้ชมานั้นก็ต้องเข้าใจว่า นี้เป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดที่ช่วยให้คุณพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพราะการทำ โค้ชชิ่ง นั้นไม่ได้ทำครั้งเดียวจบ
จะต้องทำไปเรื่อยๆ โดยต่อไปก็จะมีเครื่องมือที่ดีกว่านี้อีกเพิ่มเติมเข้ามาอยู่เสมอ ที่คุณหรือลูกน้องของคุณ จะสามารถนำมาพัฒนาตนเอง จากสิ่งที่คนอื่นมอบให้คุณด้วย
เพราะฉะนั้น หากเราเชื่อในกระบวนการ เชื่อใน Process เชื่อว่าการ Coach เป็นเครื่องมือที่สำคัญจริงๆในการดำเนินธุรกิจของครอบครัว DHAS ในทุกวันนี้ เพื่อสร้างครอบครัวของเราให้เป็นองค์กรที่แข็งแรง สร้างคนที่แข็งแกร่ง ใช้เวลา ศึกษา ฝึกฝน และพัฒนาเรื่องการ Coaching ของ ตัวคุณ ทีมคุณ ให้ดีขึ้น แล้วจะพบว่ามันเป็นสิ่งที่ทรงพลังมากอย่างหนึ่งในชีวิตการทำงานเลยครับ