Critical Thinking ทักษะที่คน DHAS ต้องมี

World Economic Forum ได้จัดอันดับความสามารถทางการแข่งขันระดับโลก โดยมีด้วยกัน 141 ประเทศ ซึ่งพบว่าในปี 2020 คาบเกี่ยว 2021 ความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทยลดลง จากอันดับที่ 38 สู่อันดับที่ 40 ปัจจัยหนึ่งด้านที่เป็นตัวฉุดรั้งให้อันดับของประเทศไทยตกลง มาจากคะแนนด้านการเรียนการสอนของไทยที่มีการฝึก Critical Thinking ต่ำที่สุด โดยคะแนนเต็ม 100 คะแนน ได้คะแนนเพียง 37 คะแนนเท่านั้น ฟังดูหดหู่มากๆๆ ใช่ไหมครับ วันนี้ HRD Vshared ขอแบ่งปันเรื่องราว Critical Thinking ทักษะที่คน DHAS ต้องมี ไปดูกันนนนนน

ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สามารถใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจได้ นับว่าเป็นหัวใจหลักของการใช้ชีวิตอย่างชาญฉลาด โดยที่ทักษะนี้จะถูกเรียกในอีกชื่อหนึ่งว่า Critical Thinking หรือ การคิดเชิงวิจารณญาณทุกคนคงเห็นค่าของคนที่มีความคิดดี คิดวิเคราะห์ คิดแบบฉลาดได้ ซึ่งหลายคนก็คงให้เหตุผลว่าคนที่มีความคิดฉลาด มีวิจารณญาณ เป็นทักษะที่มีติดตัวมาตั้งแต่เกิด อย่างไรก็ตามงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์หลายที่ก็ได้ระบุไว้แล้วว่าความคิดอย่างมีวิจารณญาณสามารถฝึกซ้อมกันได้ ทุกคนสามารถคิดอย่างฉลาดได้  แต่ในยุคสมัยที่สอนให้คนท่องจำและทำตามกฎเกณฑ์ระเบียบต่างๆมากกว่าการสอนเหตุผล เราก็จะเห็นว่าการสอนให้คนคิดเป็นและตัดสินใจด้วยตัวเอง กลายเป็นสิ่งที่ถูกให้ความสำคัญน้อยลง

Critical Thinking และการใช้ชีวิตอย่างมีเหตุผล

ในส่วนที่แล้ว เราได้ดูเรื่องทักษะและประโยชน์ต่างๆของการมี Critical Thinking แต่เราก็อาจจะถามได้อีกว่าทักษะเหล่านี้มีความสำคัญอย่างไร คนที่มี Critical Thinking จะสามารถอยู่ในสังคมได้ดีขึ้นหรือเปล่า หรือจะกลายเป็น ‘แกะดำ’ ที่ไม่มีใครเค้าใจกันนะ

‘การเข้าใจผิด’ หรือ ‘ความเชื่อแบบผิดๆ’ มีอยู่ในโลกนี้เต็มไปหมด เป็นกันทุกประเทศ สิ่งที่เราต้องให้ความสำคัญคือความเชื่อผิดๆที่ส่งผลไม่ดีทำร้ายคนอื่น เช่นการดูถูก การเหยียดชนชั้น ความคิดแง่ลบแบบนี้แม้แต่ในประเทศที่พัฒนาแล้วอันดับ 1 ของโลกก็ยังมีอยู่

มีคนเคยพูดไว้ว่า ‘ความคิดเห็นเป็นรูปแบบของความรู้ของมนุษย์ที่ต่ำที่สุด’ (Opinion is really the lowest form of human knowledge) คนที่มีความคิดเห็นอยากจะพูดอะไรก็ได้ ไม่ต้องรับผิดชอบต่อคำพูด ไม่ต้องสนใจว่าสิ่งที่พูดจะทำให้อีกฝ่ายรู้สึกยังไงหรือนำไปดำเนินการชีวิตยังไงต่อ

และในสังคมที่มีแต่ ‘ความคิดเห็น’ เต็มไปหมด การมีวิจารณญาณ หรือ Critical Thinking ก็เป็นเครื่องมือที่เราต้องใช้ในฐานะผู้ฟังที่รับรู้ข้อมูล เพื่อป้องกันตัวเองไม่ให้คล้อยตามไปในทิศทางที่ไม่ดี (ส่วนทักษะที่จำเป็นของคนที่พูดก็คือ การเห็นอกเห็นใจ หรือ empathy)

แต่แน่นอนว่าชีวิตจริงมีปัจจัยต่างๆมากมายเต็มไปหมด สิ่งที่เหมือนจะเป็นความจริงตายตัวสำหรับเรา ก็ไม่ได้จำเป็นจะต้องเป็นความจริงกับคนอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ‘ความจริง’ เกี่ยวกับเรื่องอารมณ์ ความรู้สึก และประสบการณ์ชีวิต ในเมื่อความเชื่อ เทรนต่างๆ หรือแม้แต่ประสบการณ์ชีวิตก็สามารถเปลี่ยนได้ตลอดเวลา ความท้าทายของการอยู่ในสังคมก็คือการตัดสินใจและตีความให้ถูกว่า สิ่งไหนคือความจริง สิ่งไหนคือตรรกะ สิ่งไหนคือความคิดเห็นแบบผิดๆ

…และสิ่งที่สำคัญมากกว่าก็คือ หากเรามีตรรกะหรือความคิดของตัวเองแล้ว เราจะนำสิ่งนี้ไปทำอะไรต่อ

ในอดีตคนที่เศร้าคือคนที่ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่เป็น ในปัจจุบันคนที่เศร้าอาจจะเป็นผู้ป่วยที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนความสุขไม่เพียงพอ สุดท้ายแล้วตรรกะของมนุษย์ก็ถูกจำกัดด้วยสิ่งที่เรารู้ และในจักรวาลที่มีความรู้มากเกินกว่าที่มนุษย์จะศึกษาได้หมด ‘ตรรกะ’ ก็กลายเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้

 

Fake news headline on a newspaper

Critical Thinking จะช่วยให้พ้นจาก Fake news

Critical Thinking หรือ การคิดเชิงวิพากษ์ เป็นความสามารถในการคิด วิเคราะห์ พิจารณา ประเมินและตัดสินใจข้อมูลที่ได้รับอย่างเป็นเหตุเป็นผล โดยมีพื้นฐานมาจากผลงานของ Benjamin Bloom (1956) โดยเป็นการจัดหมวดหมูพฤติกรรมการเรียนรู้ด้านสติปัญญา โดยแบ่งออกเป็น 6 ระดับ ได้แก่ ความรู้ ความเข้าใจ การประยุกต์ใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมิน โดยรวมแล้วทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ หรือ Critical Thinking คือกระบวนการคิดวิเคราะห์และแยกแยะข้อมูลอย่างเป็นระบบ โดยไม่เอาความรู้สึกหรือความเชื่อส่วนตัวมาปะปน ทำให้เป็นทักษะที่สำคัญในด้านการตัดสินใจ โดยเฉพาะในยุคที่ข้อมูลมากมาย ถูกลำเลียงมาสู่สายตาเราอย่างง่ายดาย

ในยุคที่ข้อมูลมหาศาลต่างถูกประเคนมาตรงหน้า รอแค่เพียงเราหยิบจับเพื่อป้อนเข้าสู่สมอง จะทำอย่างไรให้ข้อมูลที่ไม่ได้ถูกคัดกรองเหล่านั้น ถูกป้อนเข้าสู่สมองเราได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรงตามความเป็นจริง ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ ( Critical Thinking ) คือทักษะที่เข้ามาช่วยในจุดนี้   ผลสำรวจจาก Massachusetts Institute of Technology (MIT) ได้ระบุว่ามีข่าวปลอมถึง 70% ที่ถูก retweet (คล้ายๆกับการโพสซ้ำ) ในทวิตเตอร์ โดยอ้างอิงจากข่าวสาร 126,000 ชิ้น จำนวน 4.5 ล้านครั้ง จากผู้ใช้ทวิตเตอร์กว่า 3 ล้านบัญชี นอกจากนั้นผลสำรวจยังชี้ให้เห็นข้อมูลที่น่าตกใจอีกอย่างหนึ่งว่า ข่าวจริงนั้นต้องใช้เวลาถึง 6 เท่า เพื่อเข้าถึงผู้ใช้จำนวน 1,500 บัญชี  สำหรับประเทศไทยเอง สำนักสงเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ (สสส.) ได้เคยออกมาเปิดเผยสถิติการสื่อสารที่สร้างความเกลียดชังและปลุกปั่น (Fake news & Hate speech) พบว่าระดับความรุนแรงของการสื่อสารดังกล่าวบนแพลตฟอร์มต่างๆ ผ่าน YouTube มีถึง 78.5% เว็บบอร์ด 53% Facebook 37.6% โดยแต่ละแพลตฟอร์มเหล่านี้ ส่งผลกระทบต่อเยาวชนสูงถึง 42%

ฝึกตัวเองอย่างไรให้เป็น Critical Thinker    

การฝึกทักษะ การคิดเชิงวิพากษ์ หรือ Critical Thinking คล้ายคลึงกับ การคิดแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific thinking) ซึ่งเป็นการไม่ยอมเชื่อโดยปราศจากหลักฐาน หรือการหาข้อเท็จจริงมาหักล้างสมมติฐาน จุดร่วมที่เหมือนกันของทั้งสองทักษะนี้คือ การตั้งข้อสังเกตและการตั้งคำถาม ซึ่งจะเป็นการต่อยอดไปสู่การวิเคราะห์ การประเมินข้อมูล การเปรียบเทียบ การสรุปผล และนำไปสู่การตัดสินใจที่แม่นยำ การตั้งคำถาม – เริ่มมองจากจุดเริ่มต้นของข้อมูลและปัญหาที่ต้องการข้อสรุป รวบรวมข้อมูล – หาสิ่งมาหักล้างสมมติฐาน รวมถึงการประกอบข้อมูลในด้านอื่นๆ เพื่อมองหาความจริง การตีความและวิเคราะห์ข้อมูล – คือการนำข้อมูลที่มีในมือ พิจารณาให้ครบทุกด้าน มองหาหลักฐานที่จับต้องได้ที่ไม่ใช่การคาดเดามาตีความข้อมูล พิจารณาปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง – สิ่งที่อาจจะเป็นผลนอกเหนือจากที่มีอยู่ในข้อมูลในมือ เพื่อมองหาและประเมินผลกระทบ

สุดท้ายนี้ทักษะ การคิดเชิงวิพากษ์ ไม่ต่างอะไรกับการคิดอย่างมีวิจารณญาณในสมัยก่อน เพียงแต่ในยุคดิจิตอล ที่เมื่อเราได้รับสารมา ข้อมูลที่ได้ก็อาจจะเป็นข้อมูลเกินความจริงไปแล้ว การฝึกทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ จะทำให้เราไม่เชื่ออะไรง่ายๆ มีการตั้งคำถาม นำไปสู่การเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องตามความเป็นจริง นำไปสู่การประเมิน การแก้ไขปัญหา และการตัดสินใจที่แม่นยำ  สนใจคอร์สเรียน หลักสูตร Critical Thinking for Business เสียงตอบรับดีมากจนต้องเปิดเป็นรุ่นที่ 2 สมัครผ่าน Happily University เรียนจบ สอบผ่าน รับเหรียญ เป็นรางวัลแห่งการพัฒนาตนเอง เพราะสังคมสยามวาลา เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และแบ่งปัน เราจะเติบโตไปพร้อมกันนะคร๊าฟฟฟฟ