ทำความรู้จักกับหลักสูตร Survival DHAS
Survival DHAS เป็นหลักสูตรที่จัดอบรมให้แก่กลุ่มคนรุ่นใหม่ใน บริษัท ดี.เอช.เอ.สยามวาลา จำกัด ที่ได้รับคัดเลือก ณ ห้องประชุมใหญ่ ศูนย์กระจายสินค้า วังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อผลักดันพนักงานรุ่นใหม่ ให้เปิดใจ ตื่นตัว ปรับเปลี่ยนมุมมอง วิธีคิด วิธีการทำงานของผู้เข้าอบรม ให้มีความเป็นมืออาชีพยิ่งขึ้นและเพื่อให้พร้อมปรับตัวให้ก้าวทันสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยหลักสูตรนี้จัดอบรมทั้งหมด 2 วัน คือ วันที่ 18 เมษายน 2566 และ วันที่ 5 พฤษภาคม 2566 และนอกจากจะได้รับความรู้จากท่านวิทยากรในหัวข้อต่างๆแล้ว ยังมีกิจกรรมสนุกๆภายในงานด้วยค่า
วันแรก เริ่มต้นด้วยการบรรยาย
ในหัวข้อแรก Proud to be “DHAS” and Mission to the moon บรรยายโดย คุณสุหฤท สยามวาลา ได้พูดถึง Think big / Big Picture การคิดแบบมองภาพใหญ่ จะทำให้เรามองเห็นโอกาส แทนที่จะมองเห็นแต่ปัญหา การคิดแบบนี้จะช่วยให้เราออกจากกรอบความคิดแบบเดิม Get out of comfort Zone ได้ง่ายขึ้น และในการทำงานให้ประสบความสำเร็จก็ยังมีอีกหนึ่งทักษะที่จำเป็น นั่นก็คือ Effective & Cross Functional Communication นอกจากจะ “เก่งงาน” แล้วยังต้องเรียนรู้วิธีการ “เก่งคน” ทำความเข้าใจความแตกต่างของคนแต่ละประเภท เพื่อการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ สามารถนำไปสู่โอกาสในความสำเร็จและความก้าวหน้า
หัวข้อถัดมา วิธีคิดให้ประสบความสําเร็จแบบ “DHAS” บรรยายโดย คุณสุรเดช สุจฉายา เริ่มกันด้วยการเล่าถึงประวัติความเป็นมา วิกฤตต่างๆที่บริษัทประสบพบเจอ กว่าจะมาเป็น DHAS ในปัจจุบัน ทำให้เห็นว่าในยุคสมัยต่างๆของบริษัท มี DNA ที่สำคัญ คือ Honesty ความซื่อสัตย์ในการทำงานอย่างโปร่งใส ตรงไปตรงมา ตรวจสอบได้ ทำให้ได้รับความไว้วางใจจนผ่านวิกฤตมาได้ และ Honesty เป็นหนึ่งใน THOOC Culture วัฒนธรรมองค์กรของเรานั่นเอง ไม่เพียงแค่นี้ ยังได้กล่าวถึงแนวทางการบริหารงานที่เป็นเลิศ ในสยามวาลา (Best Practice) ทั้งการบริหารงานการเงินที่เป็นเลิศ การบริหารคลังสินค้าที่ประสบความสำเร็จ และการขยายตัว บุกตลาด AEC และทราบถึงวิธีคิดที่พร้อมเปลี่ยนจาก Regional Company เป็น Global Company ภายใต้วัฒนธรรมองค์กรแบบถูก ถูก THOOC Culture
หัวข้อสุดท้ายของการบรรยายในวันแรก คือหัวข้อ Growth Mindset and Can do Attitude บรรยายโดย คุณยิ่งศักดิ์ สยามวาลา ในหัวข้อนี้ คุณยิ่งศักดิ์ ได้กล่าวถึง การเปลี่ยนวิธีการคิดจาก Fixed mindset กรอบความคิดแบบยึดติด เป็น Growth Mindset กรอบความคิดแบบเติบโต โดยถ้าเรามีกระบวนการคิดแบบ Growth Mindset จะเป็นกระบวนการ นำพาให้เราประสบความสำเร็จ และมีชีวิตที่มีความสุขได้ ซึ่งการเข้าใจถึงพลังของการพยายามเรียนรู้กลยุทธ์ต่างๆ ที่จะทำให้เรียนรู้ในแต่ละสิ่งได้ดีขึ้น จะทำให้รู้สึกมีพลังทางบวกและความพยายามมากขึ้นกว่าเดิมด้วยค่ะ
และยังมีกิจกรรม Case study ให้ผู้เข้าร่วมอบรมจับกลุ่มกันเพื่อร่วมกันแก้ปัญหารถติด ณ จุดหลักสี่ โดยมี 2 ทางเลือกคือ โครงการสร้างสะพานลอย หรือ โครงการสร้าง tollway ต้องบอกเลยว่าการอภิปรายในครั้งนี้เรียกได้ว่าดุเดือดมากค่ะ เพราะทุกกลุ่มมีวิธีคิดในการแก้ปัญหารถติดที่ดีมากเลยค่ะ
กิจกรรมวันแรกยังไม่จบแต่เพียงเท่านี้นะคะ ยังมีกิจกรรมต้อนรับเข้าสู่ครอบครัวสยามวาลา (Welcome Party) โดยได้รับเกียรติจากคุณสุหฤท สยามวาลา เป็นผู้กล่าวต้อนรับ และภายในงานมีการจัดตกแต่งสถานที่อย่างสวยงาม รวมทั้งยังมีอาหารเครื่องดื่มที่หลากหลายให้ผู้เข้าร่วมอบรมทุกท่านได้รับประทานอาหารร่วมกัน เพื่อสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกันภายในองค์กรค่ะ
เข้าสู่วันที่ 2 ของการอบรมหลักสูตร Survival DHAS
ในช่วงเช้าเปิดด้วยการบรรยายในหัวข้อ 7 habits for highly Effective People บรรยายโดย คุณธันญ์ชกร กัปโก วิทยากรเริ่มต้น Session โดยการ พูดถึง เพชร กับ ถ่าน ที่มีลักษณะทางธาตุ ที่เป็น Carbon เหมือนกัน แค่คุณค่าของมันต่างกันลิบลับ
กว่าจะมาเป็นเพชรเม็ดงาม ต้องผ่านการค้นหาและเจียรไนเพื่อให้เป็นไปตามแบบและจินตนาการ เหมือนคนทำงานที่ต้องผ่านการเคี่ยวกรำงานหนัก แบกรับได้ทุกสถานการณ์ ไม่บ่น ไม่ท้อ ฝึกฝนและมองการทำงานว่าเป็นเรื่องท้าทาย สนุกกับการแก้ปัญหา ไม่คิดว่าปัญหาในการทำงาน คือ อุปสรรค แต่คิดว่าปัญหาคือเครื่องเจียรไนเพชรแท้ให้ออกมาแบบสวยงามสมบูรณ์ทำให้คุณเก่งงานและเติบโตอย่างมีเกียรติ
7 habits นับว่าเป็นเครื่องมือในการสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ลงลึกไปถึงแก่นแท้ภายในตัวตนของบุคคล หรือคุณลักษณะ (Character) ซึ่งเป็นรากฐานของความมีประสิทธิผลที่มากกว่าการฝึกทักษะ และการให้ความรู้ในคอร์สอบรมอื่นๆ ทั่วไป ถ้าสามารถพัฒนาตนเองให้มี 7 นิสัยดังกล่าวได้ก็จะเป็นคุณลักษณะที่ดี ที่จะติดตัวเราไปตลอดค่ะ และในช่วงบ่าย ยังมีกิจกรรมอีก 2 กิจกรรม คือ กิจกรรมเยี่ยมชมคลังสินค้า และ Survival DHAS Test
มาเริ่มกันที่กิจกรรมแรกกันค่ะ กิจกรรมเยี่ยมชมคลังสินค้า โดยพาผู้เข้าอบรมเข้าไปเยี่ยมชมกระบวนการทำงานต่าง ๆ ภายในคลัง ด้านในของคลังกว้างขวางและได้เห็นการนำเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาใช้ในการทำงาน เป็นเทคโนโลยีระบบ Automatic กิจกรรมนี้สร้างความตื่นตา ตื่นใจมากเลยค่ะ
และก็เดินทางมาถึงช่วงสุดท้ายกันแล้วค่ะ เป็นช่วงที่ผู้เข้าอบรมทุกท่านต้องทำแบบทดสอบ Survival DHAS Test โดยในแบบทดสอบมีทั้งภาคทฤษฏี และภาคปฏิบัติ รวมจำนวน 121 ข้อ รวมทั้งหมด 100 คะแนน DHAS Smart Staff ใช้ปัจจัยด้าน Personal Characteristic , High Potential, High Performance เป็นเครื่องมือในการวัดผล ประเมินผล และจำแนกพนักงาน พบว่า คนเก่งในแต่ละ BU, ฝ่าย หรือหน่วยงาน จะมีลักษณะที่ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะของงาน กลยุทธ์ ทิศทาง ความคิด ความเชื่ออย่างไรก็ตาม เราจะพบว่าคนเก่งจะมีลักษณะร่วมที่เหมือนๆ กัน ถือว่าเป็น Generic ร่วมกัน ได้แก่ ความใฝ่รู้ เป็นคนชอบคิดใหม่ ทำใหม่ เข้าใจวัฒนธรรมและวิธีคิดขององค์กร มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีวุฒิภาวะ และกล้าเปลี่ยนแปลง