อบรมคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ.)
ปัจจุบันความปลอดภัยในการทำงานนับวันมีความสำคัญมากขึ้น เนื่องจากปญั หาการเกิดอุบัติเหตุ และโรคอันเนื่องจากการทำงานเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้นายจ้างซึ่งมีหน้าที่ดูแลและดำเนินการเรื่องความปลอดภัยในการทำงานฝ่ายเดียวนั้นไม่สามารถทำให้งานสำเร็จลุล่วงไปได้ และจากการที่กฎหมายกำหนดให้นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้ง แต่ห้าสิบคนขึ้นไป จะต้องแต่งตั้ง เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ(จป. วิชาชีพ) ปรากฏว่าการปฏิบัติหน้าที่ของ จป. ยังมีอุปสรรคและปัญหาต่าง ๆ อยู่หลายประการ ประการหนึ่งที่สำคัญคือการขาดการสนับสนุนส่งเสริมและความร่วมมือจากฝ่ายต่าง ๆ ในการร่วมกันวางแผนและแก้ไขปัญหาความไม่ปลอดภัยในสถานประกอบกิจการของตนเอง และจะต้องมีความร่วมมือกันอย่างจริงจังทั้ง
ฝ่ายนายจ้าง และฝ่ายลูกจ้างในระบบทวิภาคี โดยที่ทั้ง สองฝ่ายจะต้องหารือร่วมกันในการดำเนินงานและหาแนวทางเพื่อที่จะก่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน
ดังนั้น การฝึกอบรมหลักสูตร คณะกรรมการความปลอดภัยในการทำงาน จะช่วยให้ ตัวแทนทั้ง ฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้าง มีความรู้ความเข้าใจในระบบการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สามารถพิจารณาแผนงานและโครงการความปลอดภัยในการทำงานและความ
ปลอดภัยนอกงาน และรายงานและเสนอแนะมาตรการ หรือแนวทางปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานและมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานต่อนายจ้าง เพื่อความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ผู้รับเหมา และบุคคลภายนอกที่เข้ามาปฏิบัติงานหรือเข้ามาใช้บริการในสถานประกอบกิจการ
หมวดวิชาที่ 1 การบริหารคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วยหัวข้อวิชา ได้แก่
(ก) แนวคิดระบบการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
(ข) การพิจารณาแผนงานและโครงการความปลอดภัยในการทำงานและความปลอดภัยนอก
งาน
หมวดวิชาที่ 2 กฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน ประกอบด้วยหัวข้อวิชา ได้แก่
(ก) กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย
อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549
(ข) สาระสำคัญของกฎหมายความปลอดภัยในการทำงานที่เกี่ยวข้อง
หมวดวิชาที่ ๓ บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ ประกอบด้วยหัวข้อวิชา ได้แก่
(ก) การควบคุมและป้องกันการประสบอันตรายจากการทำงาน
(ข) การสำรวจความปลอดภัย
(ค) การจัดทำข้อบังคับ คู่มือและมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทำงาน
(ง) การวางระบบการรายงานสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย
(จ) การประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน
(ฉ) การประชุมและการติดตามงาน
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้คณะกรรมการความปลอดภัย ฯ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการอย่างมีประสิทธิภาพ
- เพื่อให้คณะกรรมการความปลอดภัย ฯ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน
- เพื่อให้คณะกรรมการความปลอดภัย ฯ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
- เพื่อให้คณะกรรมการความปลอดภัย ฯ สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้อบรมไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างเหมาะสมกับองค์กรของตนเอง
ระยะเวลาในการอบรม 12 ชั่วโมง