ความปลอดภัยในการทำงานสำหรับพนักงานเก่า

ความปลอดภัยในการทำงานสำหรับพนักงานเก่า Background COURSE HIGHLIGHT Speaker More Detail พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน  ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างทุกคนได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้บริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานได้อย่างปลอดภัย      ในกรณีที่นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงาน เปลี่ยนงาน เปลี่ยนสถานที่ทำงาน หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ ซึ่งอาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัยให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมลูกจ้างทุกคนก่อนการเริ่มทำงาน เพื่อพนักงานสามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย และลดอัตราการประสบอันตรายจากการทำงานของสถานประกอบกิจการ หมวดที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน 1.1 ศัพท์ควรรู้ 1.2 เราต้องมีความรับผิดชอบต่อตนเอง เพื่อนร่วมงานและองค์กรได้อย่างไร 1.3 ความสุขกับการทำงานควรเป็นอย่างไร 1.4 สถานที่ทำงานเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องร่วมมือกันดำเนินการ 1.5 ความสัมพันธ์ระหว่างบ้านและสถานที่ทำงาน 1.6 ความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิตและความปลอดภัย หมวดที่ 2 กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน 2.1 กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเพื่อใคร 2.2 นายจ้างตามกฎหมายความปลอดภัยหมายถึงใคร 2.3 […]

ความปลอดภัยในการทำงานสำหรับพนักงานใหม่

ความปลอดภัยในการทำงานสำหรับพนักงานใหม่ Background COURSE HIGHLIGHT Speaker More Detail พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างใหม่ทุกคนได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้บริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานได้อย่างปลอดภัย ในกรณีที่นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงาน เปลี่ยนงาน เปลี่ยนสถานที่ทำงาน หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ ซึ่งอาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัยให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมลูกจ้างทุกคนก่อนการเริ่มทำงาน เพื่อพนักงานสามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย และลดอัตราการประสบอันตรายจากการทำงานของสถานประกอบกิจการ หมวดที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน 1.1 ศัพท์ควรรู้ 1.2 เราต้องมีความรับผิดชอบต่อตนเอง เพื่อนร่วมงานและองค์กรได้อย่างไร 1.3 ความสุขกับการทำงานควรเป็นอย่างไร 1.4 สถานที่ทำงานเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องร่วมมือกันดำเนินการ 1.5 ความสัมพันธ์ระหว่างบ้านและสถานที่ทำงาน 1.6 ความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิตและความปลอดภัย หมวดที่ 2 กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน 2.1 กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเพื่อใคร 2.2 นายจ้างตามกฎหมายความปลอดภัยหมายถึงใคร 2.3 ลูกจ้างตามกฎหมายความปลอดภัยหมายถึงใคร 2.4 […]

Orientation One Step Ahead Program

Orientation Program Background COURSE HIGHLIGHT Speaker More Detail “พนักงานใหม่ที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในองค์กร ก็เหมือนนักเรียนน้องใหม่ที่ยังไม่รู้เรื่องใดๆนัก ดังนั้นการปฐมนิเทศพนักงานใหม่จึงสำคัญและไม่ควรละเลย”  หลักสูตรปฐมนิเทศ Orientation Program คือ หลักสูตรที่จัดขึ้นสำหรับพนักงานที่เข้างานใหม่กับองค์กร โดยมีวัตถุประสงค์ให้พนักงานรู้จักองค์กรมากขึ้น พร้อมที่จะทำงานให้กับองค์กร สามารถปรับตัวให้เข้ากับองค์กรได้ง่ายและเร็วมากยิ่งขึ้น บริษัท ดีเอชเอ สยามวาลา จำกัด ได้กำหนดโครงสร้างหลักสูตรการปฐมนิเทศพนักงานใหม่ไว้ชัดเจน ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้ผู้เข้าอบรมในแต่ละรุ่นได้ความรู้ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน เข้าใจเรื่องราวขององค์กรเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เป็นการสร้างมาตรฐานที่เป็นเครื่องกำหนดว่าพนักงานในบริษัท ดีเอชเอ สยามวาลา จำกัด ควรมีความรู้ในเรื่องใดบ้าง ประวัติความเป็นมาของบริษัท วิสัยทัศน์ หลักคุณธรรม โครงสร้างการบริหาร สินค้าและแบรนด์ที่สยามวาลาจัดจำหน่าย และให้บริการ สวัสดิการที่ทางบริษัทมอบให้พนักงาน กฏระเบียบ ข้อบังคับในการเป็นพนักงานของบริษัท วินัยและโทษ การสื่อสารและแอพพลิเคชั่นที่ใช้ภายในองค์กร โครงการ 5 ส ระบบควบคุมคุณภาพ ISO9001:2015 ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มุ่งสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ บริษัท ดี เอช เอ สยามวาลา จำกัด […]

ความปลอดภัยในการใช้สารเคมี

ความปลอดภัยในการใช้สารเคมี Background COURSE HIGHLIGHT Speaker More Detail สารเคมีได้มีการนำมาใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมตลอดจนชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตามหลายครั้งที่อันตรายจากสารเคมีได้นำมาซึ่งความสูญเสีย เช่น การเกิดอุบัติภัยจากสารเคมี ความเป็นอันตรายต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม และผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่อยากให้เหตุการณ์เหล่านี้มันเกิดขึ้นกับเราเอง และต่อปฏิบัติงาน ดังนั้น ในหลักสูตรนี้ จึงเน้นสร้างความเข้าใจให้สอดคล้องกับหลักการในการทำงานกับสารเคมีอันตรายอย่างปลอดภัย โดยปฏิบัติได้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้ การบริหารจัดการอย่างปลอดภัย ตลอดจนการใช้งานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ผู้ปฏิบัติงานควรจะทราบ และเป็นการเตรียมพร้อมในการปฏิบัติตามร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย กฎหมายและมาตรฐานที่สำคัญและจำป็นในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย ที่ผู้ปฏิบัติงานด้านสารเคมีต้องรู้” สารเคมีอันตรายส่งผลต่อผู้ปฏิบัติงานและผลต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร? หลักการและกระบวนการในการควบคุมสารเคมีอันตราย การบ่งชี้สารเคมีอันตราย สัญญลักษณ์สากลและฉลากกำกับสารเคมี Material safety data sheet (MSDS) รายละเอียดของสารเคมีอันตราย อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลในการป้องกันสารเคมีอันตราย ลักษณะที่ตั้ง การออกแบบอาคาร วิธีการจัดเก็บและจัดการสารเคมีอันตราย วิธีดำเนินการในภาวะฉุกเฉินเกี่ยวกับสารเคมี การปฐมพยาบาลแก่ผู้ได้รับอันตรายจากสารเคมี วัตถุประสงค์ ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ ต่อการการจัดการความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้เรื่องจัดการสารเคมีไปใช้ในการปฏิบัติงานด้วยความปลอดภัย ผู้เข้ารับการอบรมทราบถึงชนิด อันตรายจากสารเคมีอันตรายในที่ทำงานที่มีผลต่อสุขภาพ การจัดการสารเคมีอันตราย […]

การขับขี่รถ Forklift อย่างถูกวิธีและปลอดภัย

การขับขี่รถ Forklift อย่างถูกวิธีและปลอดภัย Background COURSE HIGHLIGHT Speaker More Detail การนำรถยกแบบ Forklift เข้ามาใช้ในกระบวนการเคลื่อนย้ายและการเก็บรักษาวัสดุ ซึ่งเป็นกระบวนการหลักที่สำคัญของโรงงาน เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วในการเคลื่อนย้ายภายในและส่งมอบสินค้าให้ลูกค้า แต่ความสะดวกสบายจากการใช้รถยก ก็แฝงไว้ด้วยอันตรายที่พร้อมจะเกิดเป็นอุบัติเหตุได้ตลอดเวลา ถ้าพนักงานขับรถยกไม่เข้าใจถึงการใช้รถยกอย่างปลอดภัยและการตรวจสอบบำรุงรักษารถยกให้ใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนประกอบของรถยก และอุปกรณ์ป้องกันตัวรถ อุปกรณ์ป้องกันภัยส าหรับผู้ใช้รถและการตรวจสอบและบำรุงรักษา ข้อปฏิบัติขณะใช้รถยก และระเบียบการใช้รถยก คุณสมบัติของผู้ขับขี่ และผู้ควบคุมการใช้รถยก การตรวจรถ Forklift (Toyota/Nissan, etc.) แบบใช้ก๊าซ / น้ำมัน / ไฟฟ้า วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้พนักงานขับรถยกรู้วิธีการใช้รถยก เคลื่อนย้ายวัสดุอย่างปลอดภัย 2. เพื่อให้พนักงานขับรถ รู้วิธีการตรวจสอบและบำรุงรักษารถยก 3. เพื่อให้พนักงานขับรถเกิดความปลอดภัยและป้องกันทรัพย์สินเสียหาย ระยะเวลาในการอบรม 6 ชั่วโมง

อบรมคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ.)

อบรมคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ.) Background COURSE HIGHLIGHT Speaker More Detail ปัจจุบันความปลอดภัยในการทำงานนับวันมีความสำคัญมากขึ้น เนื่องจากปญั หาการเกิดอุบัติเหตุ และโรคอันเนื่องจากการทำงานเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้นายจ้างซึ่งมีหน้าที่ดูแลและดำเนินการเรื่องความปลอดภัยในการทำงานฝ่ายเดียวนั้นไม่สามารถทำให้งานสำเร็จลุล่วงไปได้ และจากการที่กฎหมายกำหนดให้นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้ง แต่ห้าสิบคนขึ้นไป จะต้องแต่งตั้ง เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ(จป. วิชาชีพ) ปรากฏว่าการปฏิบัติหน้าที่ของ จป. ยังมีอุปสรรคและปัญหาต่าง ๆ อยู่หลายประการ ประการหนึ่งที่สำคัญคือการขาดการสนับสนุนส่งเสริมและความร่วมมือจากฝ่ายต่าง ๆ ในการร่วมกันวางแผนและแก้ไขปัญหาความไม่ปลอดภัยในสถานประกอบกิจการของตนเอง และจะต้องมีความร่วมมือกันอย่างจริงจังทั้ง ฝ่ายนายจ้าง และฝ่ายลูกจ้างในระบบทวิภาคี โดยที่ทั้ง สองฝ่ายจะต้องหารือร่วมกันในการดำเนินงานและหาแนวทางเพื่อที่จะก่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน ดังนั้น การฝึกอบรมหลักสูตร คณะกรรมการความปลอดภัยในการทำงาน จะช่วยให้ ตัวแทนทั้ง ฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้าง มีความรู้ความเข้าใจในระบบการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สามารถพิจารณาแผนงานและโครงการความปลอดภัยในการทำงานและความ ปลอดภัยนอกงาน และรายงานและเสนอแนะมาตรการ หรือแนวทางปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานและมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานต่อนายจ้าง เพื่อความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ผู้รับเหมา และบุคคลภายนอกที่เข้ามาปฏิบัติงานหรือเข้ามาใช้บริการในสถานประกอบกิจการ หมวดวิชาที่ 1 การบริหารคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วยหัวข้อวิชา ได้แก่ (ก) […]

การใช้เครนอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

การใช้เครนอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ Background COURSE HIGHLIGHT Speaker More Detail โดยที่กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ.๒๕๕๒ กำหนดให้นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น ผ่านการอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว และต้องจัดให้มีการอบรมหรือทบทวนการทำงานเกี่ยวกับอบรมปั้นจั่น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนดอบรมเครนเพื่อให้พนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับปั้นจั่นปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย รวมถึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับชีวิตและทรัพย์สิน ความเป็นมาของเครน ประเภทของเครน กฎหมายที่ควรรู้เกี่ยวกับเครน ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเครน – ส่วนประกอบต่างๆ ของเครน – อุปกรณ์ช่วยยกที่ใช้กับเครน การใช้งานอุปกรณ์ช่วยยกอย่างปลอดภัย – การตรวจสภาพอุปกรณ์ช่วยยกก่อนการใช้งาน – การผูกหรือการรัดวัตถุก่อนการยก การใช้และควบคุมเครนอย่างปลอดภัย – การตรวจสภาพเครนก่อนการใช้งาน – การอ่านสัญลักษณ์บนตัวเครน – การใช้สัญญาณมือสากล – การขับเคลื่อนเครนอย่างถูกวิธี – การจัดเก็บและรักษาเครนหลังเลิกใช้งาน ข้อหลีกเลี่ยงและข้อควรปฏิบัติของผู้ควบคุมเครน วัตถุประสงค์ เพื่อให้พนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับปั้นจั่นได้เข้ารับการฝึกอบรมตามหลักสูตรที่กฎหมายกำหนดไว้ เพื่อให้นายจ้างได้ปฏิบัติตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ ระยะเวลาในการฝึกอบรม […]

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (หัวหน้างาน)

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (หัวหน้างาน) Background COURSE HIGHLIGHT Speaker More Detail หัวหน้างานเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญและใกล้ชิดกับผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการ หัวหน้างานจะเป็นผู้ที่คอยช่วยเหลือ แนะนำการปฏิบัติงานให้เป็นไปอย่างถูกต้องและปลอดภัย และควบคุมป้องกันไม่ให้มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นในขณะปฏิบัติงาน ซึ่งถ้าหัวหน้างานมีความรู้ความเข้าใจในหลักการดำเนินงานด้านความปลอดภัย ก็จะสามารถช่วยส่งเสริมให้พนักงานรวมไปถึงองค์กรดำเนินงานด้วยความปลอดภัย เพราะหัวหน้างานมีความสำคัญต่อการบริหารงานความปลอดภัยดังกล่าว กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมจึงได้ออกกฎหมายให้สถานประกอบการ จัดให้หัวหน้างาน ถือเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับหัวหน้างาน และจะต้องจัดให้หัวหน้างานทุกคนในองค์กรเข้ารับการอบรมหลักสูตร “เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับหัวหน้างาน” ดังนั้น การฝึกอบรมหลักสูตร เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน จะช่วยให้หัวหน้างานทราบถึงหลักการในการดำเนินงานความปลอดภัย ตลอดจนกิจกรรมที่จำเป็นในการสร้างความปลอดภัยในการทำงาน และสามารถนำไปดำเนินงานความปลอดภัยให้เกิดขึ้นในองค์กรต่อไป และที่สำคัญยังเป็นการปฏิบัติให้ถูกต้องตามที่ประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง กำหนดไว้อีกด้วย และนอกเหนือไปจากการปฏิบัติให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการจัดอบรมหัวข้อนี้นัน่ คือจะทำให้หัวหน้างาน ผู้ซึ่งมีความใกล้ชิดกับพนักงานมากที่สุดและมีบทบาทที่สำคัญที่สุดในเรื่องการที่จะควบคุม ดูแลให้พนักงานปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย ในหลักสูตรนี้จะทำให้หัวหน้างานได้รับทราบถึงบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบในระดับของตน อันจะเป็นส่วนสำคัญต่อความสำเร็จในการบริหารงานความปลอดภัยในองค์กร หมวดวิชาที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานและบทบาทหน้าที่ของหัวหน้างาน มีระยะเวลาการฝึกอบรมสามชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา (ก) ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยและอาชีวอนามัย (ข) บทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน หมวดวิชาที่ 2 กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน มีระยะเวลาการฝึกอบรมสามชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา (ก) การบริหารกฎหมายความปลอดภัย […]

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (ระดับบริหาร)

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (ระดับบริหาร) Background COURSE HIGHLIGHT Speaker More Detail ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549กำหนดให้นายจ้างในสถานประกอบกิจการทั้ง 14 ประเภทต้องแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหารโดยสถานประกอบกิจการตามข้อ 1-5 ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป และสถานประกอบกิจการตามข้อ 6-14 ที่มีลูกจ้าง 20 คนขึ้นไป ต้องจัดให้ลูกจ้างระดับบริหาร เข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร ซึ่งมีระยะเวลาการฝึกอบรมจำนวน 12 ชั่วโมง และแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหารเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ทางบริษัทได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของความปลอดภัยเป็นอันดับแรก ซึ่งบริษัทหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการฝึกอบรมและสัมมนาจะช่วยให้พนักงานระดับบริหารหรือ “เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับบริหาร” สามารถกำหนดนโยบายและทิศทางการบริหารงานความปลอดภัยขององค์กรได้ ผลักดันให้เกิดระบบบริหารงานความปลอดภัย เป็นผู้ให้การสนับสนุนทั้งในด้านงบประมาณ ทรัพยากรต่าง ๆ รวมไปถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินการ อันเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันการบริหารงานความปลอดภัย และนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น อันจะนำไปสู่การลดการประสบอันตรายและการสูญเสียของสถานประกอบกิจการได้ – หมวดวิชาที่ 1 การจัดการความปลอดภัยในการทำงาน (ก) แนวคิดการจัดการความปลอดภัยในการทำงาน (ข) บทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร – หมวดวิชาที่ 2 กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย […]

การฝึกอบรมการดับเพลิง

หลักสูตร อบรมดับเพลิง Background COURSE HIGHLIGHT Speaker More Detail การเกิดเพลิงไหม้ในสถานประกอบการ ย่อมทำให้เกิดความเสียหายหลายด้าน เช่น มีผลกระทบต่ออาคารและสถานที่ , อุปกรณ์การผลิต , วัตถุดิบ , สินค้า , บุคลากร , สิ่งแวดล้อม รวมถึงภาพพจน์ของสถานประกอบการนั้นๆ ทำให้การผลิตหรือการประกอบธุรกิจหยุดชะงักได้ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของนายจ้างและภาพพจน์โดยรวมของบริษัทฯได้ ซึ่งนายจ้างของแต่ละสถานประกอบการ ต้องดำเนินการเพื่อการป้องกันมิให้เกิดเพลิงไหม้ หรือการจัดการระงับเหตุเพลิงไหม้ในขั้นต้น เพื่อป้องกันไม่ให้เพลิงไหม้ลุกลามใหญ่โต ดังนั้นเรื่องการและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง แต่เนื่องจากนายจ้างและลูกจ้างบางสถานประกอบการยังขาดความรู้ ทักษะในการป้องกันและระงับอัคคีภัยในส่วนของการรับผิดชอบในด้านการป้องกันการเกิดเหตุเพลิงไหม้ในภาวะปกติเบื้องต้น การจัดทำแผนป้องกันและระงับอัคคีภัย การรณรงค์และการฝึกอบรม ซึ่งนายจ้างของสถานประกอบการทุกแห่ง จะต้องจัดให้ลูกจ้างมีการเข้าร่วมฝึกอบรมตามที่กฎหมายกำหนด โดย กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. ๒๕๕๕ หัวข้อการอบรม ( ภาคทฤษฏี ) ทฤษฏีการเกิดเพลิงไหม้ การแบ่งประเภทของไฟ จิตวิทยาเมื่อเกิดอัคคีภัย แผนการป้องกันและระงับอัคคีภัย การป้องกันแหล่งกำเนิดการติดไฟ วิธีการดับเพลิงประเภทต่างๆ […]