ความปลอดภัยในการทำงานสำหรับพนักงานใหม่

ความปลอดภัยในการทำงานสำหรับพนักงานใหม่ Background COURSE HIGHLIGHT Speaker More Detail พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างใหม่ทุกคนได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้บริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานได้อย่างปลอดภัย ในกรณีที่นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงาน เปลี่ยนงาน เปลี่ยนสถานที่ทำงาน หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ ซึ่งอาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัยให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมลูกจ้างทุกคนก่อนการเริ่มทำงาน เพื่อพนักงานสามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย และลดอัตราการประสบอันตรายจากการทำงานของสถานประกอบกิจการ หมวดที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน 1.1 ศัพท์ควรรู้ 1.2 เราต้องมีความรับผิดชอบต่อตนเอง เพื่อนร่วมงานและองค์กรได้อย่างไร 1.3 ความสุขกับการทำงานควรเป็นอย่างไร 1.4 สถานที่ทำงานเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องร่วมมือกันดำเนินการ 1.5 ความสัมพันธ์ระหว่างบ้านและสถานที่ทำงาน 1.6 ความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิตและความปลอดภัย หมวดที่ 2 กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน 2.1 กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเพื่อใคร 2.2 นายจ้างตามกฎหมายความปลอดภัยหมายถึงใคร 2.3 ลูกจ้างตามกฎหมายความปลอดภัยหมายถึงใคร 2.4 […]

ความปลอดภัยในการใช้สารเคมี

ความปลอดภัยในการใช้สารเคมี Background COURSE HIGHLIGHT Speaker More Detail สารเคมีได้มีการนำมาใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมตลอดจนชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตามหลายครั้งที่อันตรายจากสารเคมีได้นำมาซึ่งความสูญเสีย เช่น การเกิดอุบัติภัยจากสารเคมี ความเป็นอันตรายต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม และผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่อยากให้เหตุการณ์เหล่านี้มันเกิดขึ้นกับเราเอง และต่อปฏิบัติงาน ดังนั้น ในหลักสูตรนี้ จึงเน้นสร้างความเข้าใจให้สอดคล้องกับหลักการในการทำงานกับสารเคมีอันตรายอย่างปลอดภัย โดยปฏิบัติได้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้ การบริหารจัดการอย่างปลอดภัย ตลอดจนการใช้งานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ผู้ปฏิบัติงานควรจะทราบ และเป็นการเตรียมพร้อมในการปฏิบัติตามร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย กฎหมายและมาตรฐานที่สำคัญและจำป็นในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย ที่ผู้ปฏิบัติงานด้านสารเคมีต้องรู้” สารเคมีอันตรายส่งผลต่อผู้ปฏิบัติงานและผลต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร? หลักการและกระบวนการในการควบคุมสารเคมีอันตราย การบ่งชี้สารเคมีอันตราย สัญญลักษณ์สากลและฉลากกำกับสารเคมี Material safety data sheet (MSDS) รายละเอียดของสารเคมีอันตราย อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลในการป้องกันสารเคมีอันตราย ลักษณะที่ตั้ง การออกแบบอาคาร วิธีการจัดเก็บและจัดการสารเคมีอันตราย วิธีดำเนินการในภาวะฉุกเฉินเกี่ยวกับสารเคมี การปฐมพยาบาลแก่ผู้ได้รับอันตรายจากสารเคมี วัตถุประสงค์ ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ ต่อการการจัดการความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้เรื่องจัดการสารเคมีไปใช้ในการปฏิบัติงานด้วยความปลอดภัย ผู้เข้ารับการอบรมทราบถึงชนิด อันตรายจากสารเคมีอันตรายในที่ทำงานที่มีผลต่อสุขภาพ การจัดการสารเคมีอันตราย […]

การขับขี่รถ Forklift อย่างถูกวิธีและปลอดภัย

การขับขี่รถ Forklift อย่างถูกวิธีและปลอดภัย Background COURSE HIGHLIGHT Speaker More Detail การนำรถยกแบบ Forklift เข้ามาใช้ในกระบวนการเคลื่อนย้ายและการเก็บรักษาวัสดุ ซึ่งเป็นกระบวนการหลักที่สำคัญของโรงงาน เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วในการเคลื่อนย้ายภายในและส่งมอบสินค้าให้ลูกค้า แต่ความสะดวกสบายจากการใช้รถยก ก็แฝงไว้ด้วยอันตรายที่พร้อมจะเกิดเป็นอุบัติเหตุได้ตลอดเวลา ถ้าพนักงานขับรถยกไม่เข้าใจถึงการใช้รถยกอย่างปลอดภัยและการตรวจสอบบำรุงรักษารถยกให้ใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนประกอบของรถยก และอุปกรณ์ป้องกันตัวรถ อุปกรณ์ป้องกันภัยส าหรับผู้ใช้รถและการตรวจสอบและบำรุงรักษา ข้อปฏิบัติขณะใช้รถยก และระเบียบการใช้รถยก คุณสมบัติของผู้ขับขี่ และผู้ควบคุมการใช้รถยก การตรวจรถ Forklift (Toyota/Nissan, etc.) แบบใช้ก๊าซ / น้ำมัน / ไฟฟ้า วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้พนักงานขับรถยกรู้วิธีการใช้รถยก เคลื่อนย้ายวัสดุอย่างปลอดภัย 2. เพื่อให้พนักงานขับรถ รู้วิธีการตรวจสอบและบำรุงรักษารถยก 3. เพื่อให้พนักงานขับรถเกิดความปลอดภัยและป้องกันทรัพย์สินเสียหาย ระยะเวลาในการอบรม 6 ชั่วโมง

อบรมคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ.)

อบรมคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ.) Background COURSE HIGHLIGHT Speaker More Detail ปัจจุบันความปลอดภัยในการทำงานนับวันมีความสำคัญมากขึ้น เนื่องจากปญั หาการเกิดอุบัติเหตุ และโรคอันเนื่องจากการทำงานเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้นายจ้างซึ่งมีหน้าที่ดูแลและดำเนินการเรื่องความปลอดภัยในการทำงานฝ่ายเดียวนั้นไม่สามารถทำให้งานสำเร็จลุล่วงไปได้ และจากการที่กฎหมายกำหนดให้นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้ง แต่ห้าสิบคนขึ้นไป จะต้องแต่งตั้ง เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ(จป. วิชาชีพ) ปรากฏว่าการปฏิบัติหน้าที่ของ จป. ยังมีอุปสรรคและปัญหาต่าง ๆ อยู่หลายประการ ประการหนึ่งที่สำคัญคือการขาดการสนับสนุนส่งเสริมและความร่วมมือจากฝ่ายต่าง ๆ ในการร่วมกันวางแผนและแก้ไขปัญหาความไม่ปลอดภัยในสถานประกอบกิจการของตนเอง และจะต้องมีความร่วมมือกันอย่างจริงจังทั้ง ฝ่ายนายจ้าง และฝ่ายลูกจ้างในระบบทวิภาคี โดยที่ทั้ง สองฝ่ายจะต้องหารือร่วมกันในการดำเนินงานและหาแนวทางเพื่อที่จะก่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน ดังนั้น การฝึกอบรมหลักสูตร คณะกรรมการความปลอดภัยในการทำงาน จะช่วยให้ ตัวแทนทั้ง ฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้าง มีความรู้ความเข้าใจในระบบการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สามารถพิจารณาแผนงานและโครงการความปลอดภัยในการทำงานและความ ปลอดภัยนอกงาน และรายงานและเสนอแนะมาตรการ หรือแนวทางปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานและมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานต่อนายจ้าง เพื่อความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ผู้รับเหมา และบุคคลภายนอกที่เข้ามาปฏิบัติงานหรือเข้ามาใช้บริการในสถานประกอบกิจการ หมวดวิชาที่ 1 การบริหารคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วยหัวข้อวิชา ได้แก่ (ก) […]

การใช้เครนอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

การใช้เครนอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ Background COURSE HIGHLIGHT Speaker More Detail โดยที่กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ.๒๕๕๒ กำหนดให้นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น ผ่านการอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว และต้องจัดให้มีการอบรมหรือทบทวนการทำงานเกี่ยวกับอบรมปั้นจั่น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนดอบรมเครนเพื่อให้พนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับปั้นจั่นปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย รวมถึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับชีวิตและทรัพย์สิน ความเป็นมาของเครน ประเภทของเครน กฎหมายที่ควรรู้เกี่ยวกับเครน ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเครน – ส่วนประกอบต่างๆ ของเครน – อุปกรณ์ช่วยยกที่ใช้กับเครน การใช้งานอุปกรณ์ช่วยยกอย่างปลอดภัย – การตรวจสภาพอุปกรณ์ช่วยยกก่อนการใช้งาน – การผูกหรือการรัดวัตถุก่อนการยก การใช้และควบคุมเครนอย่างปลอดภัย – การตรวจสภาพเครนก่อนการใช้งาน – การอ่านสัญลักษณ์บนตัวเครน – การใช้สัญญาณมือสากล – การขับเคลื่อนเครนอย่างถูกวิธี – การจัดเก็บและรักษาเครนหลังเลิกใช้งาน ข้อหลีกเลี่ยงและข้อควรปฏิบัติของผู้ควบคุมเครน วัตถุประสงค์ เพื่อให้พนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับปั้นจั่นได้เข้ารับการฝึกอบรมตามหลักสูตรที่กฎหมายกำหนดไว้ เพื่อให้นายจ้างได้ปฏิบัติตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ ระยะเวลาในการฝึกอบรม […]

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (หัวหน้างาน)

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (หัวหน้างาน) Background COURSE HIGHLIGHT Speaker More Detail หัวหน้างานเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญและใกล้ชิดกับผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการ หัวหน้างานจะเป็นผู้ที่คอยช่วยเหลือ แนะนำการปฏิบัติงานให้เป็นไปอย่างถูกต้องและปลอดภัย และควบคุมป้องกันไม่ให้มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นในขณะปฏิบัติงาน ซึ่งถ้าหัวหน้างานมีความรู้ความเข้าใจในหลักการดำเนินงานด้านความปลอดภัย ก็จะสามารถช่วยส่งเสริมให้พนักงานรวมไปถึงองค์กรดำเนินงานด้วยความปลอดภัย เพราะหัวหน้างานมีความสำคัญต่อการบริหารงานความปลอดภัยดังกล่าว กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมจึงได้ออกกฎหมายให้สถานประกอบการ จัดให้หัวหน้างาน ถือเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับหัวหน้างาน และจะต้องจัดให้หัวหน้างานทุกคนในองค์กรเข้ารับการอบรมหลักสูตร “เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับหัวหน้างาน” ดังนั้น การฝึกอบรมหลักสูตร เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน จะช่วยให้หัวหน้างานทราบถึงหลักการในการดำเนินงานความปลอดภัย ตลอดจนกิจกรรมที่จำเป็นในการสร้างความปลอดภัยในการทำงาน และสามารถนำไปดำเนินงานความปลอดภัยให้เกิดขึ้นในองค์กรต่อไป และที่สำคัญยังเป็นการปฏิบัติให้ถูกต้องตามที่ประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง กำหนดไว้อีกด้วย และนอกเหนือไปจากการปฏิบัติให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการจัดอบรมหัวข้อนี้นัน่ คือจะทำให้หัวหน้างาน ผู้ซึ่งมีความใกล้ชิดกับพนักงานมากที่สุดและมีบทบาทที่สำคัญที่สุดในเรื่องการที่จะควบคุม ดูแลให้พนักงานปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย ในหลักสูตรนี้จะทำให้หัวหน้างานได้รับทราบถึงบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบในระดับของตน อันจะเป็นส่วนสำคัญต่อความสำเร็จในการบริหารงานความปลอดภัยในองค์กร หมวดวิชาที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานและบทบาทหน้าที่ของหัวหน้างาน มีระยะเวลาการฝึกอบรมสามชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา (ก) ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยและอาชีวอนามัย (ข) บทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน หมวดวิชาที่ 2 กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน มีระยะเวลาการฝึกอบรมสามชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา (ก) การบริหารกฎหมายความปลอดภัย […]

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (ระดับบริหาร)

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (ระดับบริหาร) Background COURSE HIGHLIGHT Speaker More Detail ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549กำหนดให้นายจ้างในสถานประกอบกิจการทั้ง 14 ประเภทต้องแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหารโดยสถานประกอบกิจการตามข้อ 1-5 ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป และสถานประกอบกิจการตามข้อ 6-14 ที่มีลูกจ้าง 20 คนขึ้นไป ต้องจัดให้ลูกจ้างระดับบริหาร เข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร ซึ่งมีระยะเวลาการฝึกอบรมจำนวน 12 ชั่วโมง และแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหารเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ทางบริษัทได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของความปลอดภัยเป็นอันดับแรก ซึ่งบริษัทหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการฝึกอบรมและสัมมนาจะช่วยให้พนักงานระดับบริหารหรือ “เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับบริหาร” สามารถกำหนดนโยบายและทิศทางการบริหารงานความปลอดภัยขององค์กรได้ ผลักดันให้เกิดระบบบริหารงานความปลอดภัย เป็นผู้ให้การสนับสนุนทั้งในด้านงบประมาณ ทรัพยากรต่าง ๆ รวมไปถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินการ อันเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันการบริหารงานความปลอดภัย และนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น อันจะนำไปสู่การลดการประสบอันตรายและการสูญเสียของสถานประกอบกิจการได้ – หมวดวิชาที่ 1 การจัดการความปลอดภัยในการทำงาน (ก) แนวคิดการจัดการความปลอดภัยในการทำงาน (ข) บทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร – หมวดวิชาที่ 2 กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย […]

3CX: The Future of Communications

3CX เป็นซอฟต์แวร์ PBX ที่ทำงานร่วมกับโทรศัพท์ IP มาตรฐาน SIP Trunks และเกตเวย์ VoIP เพื่อให้บริการโซลูชันระบบ PBX นั้นสมบูรณ์แบบ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาระบบ และปวดหัวกับการจัดการระบบ PBX แบบเก่าๆ ระบบ 3CX IP PBX  PBX นั้นมีความสามารถในการจัดการ การโทรเหมือนกับระบบโทรศัพท์ PBX แบบดั้งเดิมทั้งหมด แต่คุณสมบัติที่โดดเด่นนอกเหนือจากระบบ PBX แบบทั่วไปแล้ว 3CX นั้นยังรองรับการทำงานบนทุก Platform ไม่ว่าจะเป็น android, IOS, Windows, และ linux อีกทั้งยังมีการทำงานใหม่ ๆ รวมอยู่ในนั้นอีกเพียบเลยทีเดียว  ระบบ 3CX IP PBX เรียกได้ว่าเป็นระบบโทรศัพท์ VoIP ที่สมบูรณ์แบบมากตัวหนึ่ง ระบบการโทรทั้งหมดบน IP-PBX นั้นจะถูกส่งเป็นแพ็คเก็ตข้อมูล ไปบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เหมือนกับการส่งข้อมูลบนคอมพิวเตอร์ที่คุณทำการส่งข้อความจากคนหนึ่งไปหาอีกคนหนึ่ง  ระบบ IP-PBX นั้นไม่เหมือนการส่งข้อมูลบนโทศัพท์แบบเดิมที่ต้องการส่งข้อมูลผ่านสายสัญญาณชนิด 2core, […]

SMART SOLUTION CREATE INTELLIGENT MANUFACTURING

กระทรวงอุตสาหกรรม และสมาคมผู้ประกอบการไทย ได้จัดกิจกรรมฝึกอบรม เพื่อยกระดับคุณภาพการทำงาน ให้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปของธุรกิจ “SMART SOLUTION CREATE INTELLIGENT MANUFACTURING” แผนกพัฒนาทรัพยากรมนษย์ เห็นว่า มีหลักสูตรที่ทันสมัย สอดคล้องกันงานของหน่วยงานของท่าน และมีวิทยากรที่มีความสามารถ จึงขอเรียนเชิญแจ้งความจำนงค์ในการฝึกอบรม ดังกล่าว ตามตาราง และรายละเอียดที่แนบมาให้  คลิกเพื่อดูรายละเอียด

รับสมัคร In-House Excellent Trainer

ร่วมสร้างสรรค์องค์กรแห่งการเรียนรู้และการแบ่งปัน HRD Team ขอเชิญพนักงานทุกท่าน สมัคร In-House Excellent Trainer พร้อมรับสิทธิประโยชน์ต่างๆ มากมาย หมดเขต 28 กุมภาพันธ์นี้ เท่านั้น

ยกระดับสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

การทำงานในยุคนี้ อะไร ๆ ก็เปลี่ยนแปลงไปมากมาย ตามกระแสโลกที่ปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว จากยุคก่อนที่ภาคธุรกิจต่าง ๆ ขับเคลื่อนด้วยแรงงานเป็นหลัก ก็ต้องปรับตัวมาเป็นแรงงานฝีมือ หรือแรงงานที่มีความรู้เพิ่มขึ้นกว่าเดิมมาก งาน routine ที่ทำซ้ำเป็นประจำทุกวัน ก็ต้องเพิ่มนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ลงไป หรืองานบางอย่างจากที่เคยใช้ทักษะเพียงด้านเดียวก็กลายเป็นงานที่ต้องการทักษะหลาย ๆ ด้านประกอบกัน ทั้งหมดทั้งมวลนี้ “ความรู้” เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญ ที่จะทำให้องค์กรต่าง ๆ ในยุคปัจจุบันเติบโตและอยู่รอดได้อย่างยั่งยืนต่อไปภายภาคหน้า   ในเมื่อความรู้กลายเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญของภาคธุรกิจ “การจัดการความรู้” (Knowledge Management) จึงเป็นหัวใจสำคัญของทุกองค์กรที่มีเป้าหมายมุ่งสู่ความเป็นเลิศ jobsDB จะพาทุกองค์กรไปทำความเข้าใจ เล็งเห็นความสำคัญของการจัดการความรู้ และการใช้เครื่องมือที่ชื่อว่าความรู้ นำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ เพื่อยกระดับองค์กรของคุณให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ความรู้ เกิดจากความไม่รู้ เพราะองค์กรส่วนใหญ่มักมีปัญหาเกี่ยวกับความรู้เกิดขึ้นอยู่ทุกขณะของกระบวนการทำงาน องค์กรของคุณเคยประสบปัญหาต่อไปนี้หรือไม่ – เวลามีปัญหาในการทำงาน คนทำงานไม่รู้ว่าจะไปถามผู้ที่เก่งในเรื่องนั้น ๆ ได้ที่ไหน – การแบ่งปันความรู้มักเกิดขึ้นในวงแคบ เฉพาะคนทำงานที่สนิทสนมกันเท่านั้น และคนทำงานไม่ได้ถือว่าการแลกเปลี่ยนความรู้เป็นส่วนหนึ่งของการทำงาน – ไม่มีการเผยแพร่ความรู้ที่คนทำงานได้จากการไปประชุม อบรม สัมมนา ให้แก่คนทำงานอื่น ๆ ที่ไม่ได้ไป – […]

Workshop: DHAS Sale Standard

การจัดฝึกอบรมสูตร DHAS Sale Standard Workshop ซึ่งจัดขึ้น ณ ศูนย์กระจายสินค้าวังน้อย CDC ซึ่งบรรยายกาศเต็มไปด้วยความสนุกสนานจากการ ICE Breaking ความรู้เกี่ยวกับองค์กร การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แชร์ประสบการณ์ของทีม Sales MGR/RM

1 2 3